ยามเช้าในเอธิโอเปีย ผู้คนส่วนใหญ่จะเริ่มต้นวันด้วยพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาเหล่านี้จะนำถ่านมากองรวมกันแล้วจุดไฟ ต่อไปจะใช้หม้อดินสีดำที่เรียกว่า jebena สำหรับใช้ในการต้มน้ำ แล้วจึงใส่ buna ลงไป (buna ภาษาอัมฮาริก แปลว่ากาแฟ) แล้วนำหม้อ jebena ไปวางไว้บนถ่านร้อน ๆ
ในสถานที่แห่งนี้ buna เป็นมากกว่าแค่เครื่องดื่มธรรมดา เรียกว่าเป็นพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์ และวิถีชีวิตประจำวันของชาวเอธิโอเปีย ชาวเอธิโอเปียถึง 1 ใน 4 หาเลี้ยงชีพจากสิ่งนี้ และสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างไม่น่าเชื่อถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดเลย
แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้า โดยสภาวะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง กำลังคุกคามวิถีชีวิตของชาวเอธิโอเปีย และด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการคาดการณ์ว่า เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากในดินแดนแห่งกาแฟแห่งนี้ จะสูญหายไปภายในปี 2050 สิ่งนี้อาจทำให้ผลผลิตกาแฟลดลง 10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวและน่ากังวลมาก เอธิโอเปียจะรับมือกับวิกฤติใหญ่ครั้งนี้อย่างไร

สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างน่าประหลาด
สำหรับคนส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเอธิโอเปีย อาจมองประเทศนี้เป็นประเทศที่ไม่มีสีสัน ไร้ชีวิตชีวา และอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งประเทศแห่งนี้เป็นแบบนั้น ต้องเผชิญอยู่กับภาวะแห้งแล้งและความอดอยาก แต่ก็เป็นในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 ถึงแม้ว่าประเทศแห่งนี้จะมีพื้นที่หรือส่วนที่เป็นทะเลทรายจริง แต่ภูมิประเทศส่วนในเอธิโอเปียนั้น เป็นพื้นที่ราบสูงที่อุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมแก่การปลูกพืชเป็นอย่างมาก ประเทศแห่งนี้เป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ อุดมไปด้วยป่าเขียวชอุ่ม และพื้นดินที่เหมาะกับการปลูกพืชนานาพันธุ์
และแล้ววิกฤตภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้ง และฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาลมากขึ้น รูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้เอง ที่ทำลายพื้นที่การเกษตร พื้นที่ซึ่งประชากร 82 เปอร์เซ็นต์ในเอธิโอเปียกว่า 9 ล้านคนต้องพึ่งพา และพืชชนิดใดที่มีบทบาทสำคัญต่อประชากรอันมากมายของเอธิโอเปีย แน่นอนว่าคือกาแฟ
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของกาแฟในเอธิโอเปีย
กาแฟหรือต้นเชอรี่กาแฟนั้นนับว่าเป็นพืชที่อยู่คู่กับเอธิโอเปียมานานกว่าพันปี อันที่จริงต้องบอกว่า สถานที่แห่งนี้เปรียบเสมือนบ้านที่ให้กำเนิดกาแฟ อาราบิก้า และเอธิโอเปียก็ยังเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดในแอฟริกาด้วย
แม้แต่ในทุกวันนี้ กาแฟก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของที่นี่ กาแฟที่ผลิตได้ครึ่งหนึ่ง มีการบริโภคกันภายในประเทศ และเกือบทั้งหมดในนั้น ถูกผลิตขึ้นจากเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ มีพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 3 เฮกตาร์ ทำให้กาแฟที่ผลิตขึ้นโดยเกษตรกรเหล่านี้ถูกเรียกว่า “กาแฟสวน”
แม้ว่ากาแฟจะมีความสำคัญต่อชาวเอธิโอเปีย และยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนานด้วย แต่ประเทศแห่งนี้ได้ส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย อยู่ที่ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของตลาดกาแฟโลก และที่น่าเศร้าไปกว่านั้นคือ เกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ เป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงที่สุดในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงนี้
ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง กับราคาที่ต้องจ่าย
เอธิโอเปียไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเทศต้นกำเนิดของกาแฟ อาราบิก้า เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งพันธุกรรมของกาแฟอีกมากมายหลากหลายทางธรรมชาติ มีพันธุ์กาแฟที่น่าทึ่งและยังไม่ถูกค้นพบมากมาย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ประมาณการว่า ผลผลิตพืชผลโดยรวมทั้งหมดในเอธิโอเปีย จะลดลง 10-20 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2050 เนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้เอง
ความท้าทายนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทางการเกษตร และแน่นอนว่าพืชที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือพืชที่เปราะบ้าง และภูมิต้านทานต่ำอย่างกาแฟ IRPC คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 เฉพาะในเอธิโอเปีย มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น 1.7-2.1 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยประจำปีของทางโลกมาก
แล้วมันหมายความว่ายังไง หมายความว่า ต้นกาแฟและแหล่งที่อยู่อาศัยของต้นกาแฟหลังนี้ จะต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น สิ่งนี้จะเกิดแรงกระเพื่อมในวงกว้าง ถึงจะยังไม่ถึงขั้นสูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว แต่ผลที่ได้คือ คุณภาพของกาแฟที่ได้ และผลผลิตที่ได้ก็จะลดลง

แรงกระเพื่อมในวงกว้าง และเหล่าแมลงศัตรูพืช
การที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นนั้น ไม่ได้มีผลกระทบเพียงแค่สำหรับพืชเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงระบบนิเวศทั้งหมด เราไปทำความรู้จักศัตรูตัวร้ายของกาแฟกัน สัตว์ตัวนั้นคือ coffee berry borer หรือมอดกาแฟ ศัตรูตัวร้ายที่สุดตัวหนึ่งของโลก มดเหล่านี้จะโจมตีผลกาแฟ โดยการเจาะและเข้าไปวางไข่ข้างใน ในทุกปี มีการคาดการณ์ว่า ตลาดกาแฟโรคขาดทุนจากศัตรูพืชตัวนี้ประมาณการอยู่ที่หลายล้านเหรียญ
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นแม้เพียงแค่ 1 องศาเซลเซียส จะนำไปสู่การเกิดที่สูงขึ้นของประชากรมอดกาแฟ นี่ยังไม่นับรวมถึงศัตรูพืชและโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศแทนซาเนีย มีหลักฐานว่า มีการค้นพบมอดกาแฟที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้น 300 เมตร จากที่เมื่อ 10 ปีก่อนไม่สามารถพบได้ในความสูงที่เพิ่มขึ้นระดับนี้ และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น ส่งผลร้ายต่อการผลิตกาแฟทั่วโลกไม่ใช่แค่ไหนบางประเทศของแอฟริกา
ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ แต่เราก็สามารถจะจินตนาการได้ว่า ปัญหานี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเอธิโอเปีย และอาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่า เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้น สิ่งนี้ส่งผลร้ายต่อต้นกาแฟของเอธิโอเปีย และผู้คนจำนวนมากที่ต้องพึ่งพามัน
สภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบ ทำให้ศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อแหล่งปลูกกาแฟด้วย การที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ในบางพื้นที่ไม่ได้เหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟอีกต่อไป เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง สูงขึ้นและไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกาแฟแล้ว ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะสามารถผลิตกาแฟในปริมาณ และคุณภาพเท่าเดิม จึงต้องมีการดัดแปลงและเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อย่างการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย หรือไม่ก็ใช้เงินทุนเพิ่ม
แต่เกษตรกรรายย่อยที่มีฐานะยากจน ก็ไม่สามารถที่จะจัดซื้อ นำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย หรือหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงมาใช้ได้ เกษตรกรหลายรายจะต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นนอกเหนือจากกาแฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้ตนเองอยู่รอด
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทั้งเรื่องของอัตราศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้น โรคภัยที่จะเสี่ยงต่อการทำลายพืชผลกาแฟมากขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้น และการต้องปรับตัวโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น เหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ดูจะไม่มีหวังเลย แต่ก็มีทางออกให้กับเกษตรกรที่พวกเขาเหล่านั้นยังพอทำได้ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้นต่อผลผลิตกาแฟของพวกเขา
แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้
วิธีหลักวิธีหนึ่ง ที่เหมาะสมในการจัดการกับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกปีในพื้นที่ปลูกกาแฟ คือพยายามเพิ่มต้นไม้ให้ร่มเงา ให้เติบโตเหนือพุ่มกาแฟ ซึ่งจะทำหน้าที่บังแสงแดดและความร้อนของดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้ยังคงสามารถปลูกกาแฟได้ในบริเวณที่อุณหภูมิสูงขึ้น
ในงานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า การนำพืชที่ให้ร่มเงาเข้ามาช่วยในการลดอุณหภูมิแวดล้อมรอบต้นกาแฟ สามารถที่จะลดอุณหภูมิได้ถึง 4 องศาเซลเซียส นอกจากได้อุณหภูมิที่ต่ำลงแล้ว ยังทำให้มีนก ค้างคาว หรือแมลงที่เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศมากขึ้นด้วย ซึ่งเหล่านี้สามารถช่วยในการจัดการศัตรูพืชอย่างมอดกาแฟได้ดี
บทความล่าสุดที่ตีพิมพ์โดย Kew Gardens รวมกับ Ethiopian Environment and Coffee Forest Forum (ECFF) ได้มีการทำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในเอธิโอเปีย โดยได้มีการคาดการณ์ว่า พื้นที่ที่เหมาะสมของการปลูกกาแฟป่า จะลดลงถึง 65 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2080 นี่คือกรณีที่ดีที่สุด แต่หากเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด พื้นที่เหล่านี้อาจลดลงมากถึง 99.7 เปอร์เซ็นต์
การคาดการณ์ประมาณการลดลงนี้หมายความว่า ภายในปี 2080 เมล็ดกาแฟอาราบิก้าป่าอาจจะใกล้สูญพันธุ์ ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ แบบจำลองนี้ไม่ได้นำปัจจัยอื่น ๆ มาคำนวณด้วย อย่างพวกแมลงศัตรูพืช โรคภัย และการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้จะไปเร่งกระบวนการสูญพันธุ์ให้เร็วขึ้นไปอีก
หากเป็นในกรณีนี้ ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมที่ยอดเยี่ยม และความหลากหลายของพันธุ์กาแฟที่อยู่ในพื้นที่ป่าของเอธิโอเปียอาจจะหายไป และเหลือกันเพียงพันธุ์หลักที่ปลูกกันในไร่ อย่างที่เรารู้กันว่า ยังมีกาแฟป่าของเอธิโอเปียที่ยังไม่ถูกค้นพบ และยังไม่ได้ถูกบัญญัติอย่างเป็นทางการกว่าหมื่น ๆ พันธุ์ คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้า ว่ากาแฟที่แสนพิเศษเหล่านี้จะหายไปก่อนที่เราจะได้ค้นพบและได้ลิ้มลองเสียอีก
ไม่เพียงเท่านั้น พันธุ์กาแฟป่าเหล่านี้ อาจสามารถช่วยแก้ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับกาแฟได้ กาแฟป่าที่ยังไม่ถูกค้นพบบางพันธุ์ อาจมีความต้านทานต่อความร้อน โรคต่าง ๆ หรือแมลงศัตรูพืชบางชนิดก็ได้ หรือไม่แน่อาจจะสามารถให้ผลผลิตและคุณภาพที่สูงขึ้นได้ด้วย หากกาแฟเหล่านี้หายไป กาแฟที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่มีโอกาสได้กลายพันธุ์ตามธรรมชาติ และนำข้อดีของกาแฟเหล่านั้นมาใช้

เอธิโอเปียเป็นแหล่งกำเนิด และเป็นแหล่งกาแฟที่สำคัญมากที่สุดแรงหนึ่งในโลก การเผชิญกับปัญหานี้ ทำให้อนาคตกับแฟนในเอธิโอเปียระส่ำระสาย ปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ไม่อย่างนั้น ผลที่ตามมาอาจจะแย่กว่าที่คิด กับเราในฐานะผู้ดื่มกาแฟก็ไม่เท่าไหร่ แต่กับเกษตรกรรายย่อยภายในประเทศอาจเป็นเรื่องใหญ่มาก สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การรักษาวิถีชีวิต และธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามภายในประเทศเท่านั้น แต่หมายถึงการดำรงชีวิตของคนเหล่านี้เลย ซึ่งหากขาดกาแฟซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักไป จะกลายเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับคนที่ต้องพึ่งพากาแฟเหล่านี้ไปเลย