World map made of cofee beans

ทัวร์กาแฟรอบโลก ลักษณะของกาแฟในแต่ละประเทศ

คุณรู้หรือไม่ว่าการทำอุตสาหกรรมกาแฟ (ในที่นี้หมายถึงการ ปลูกกาแฟ) นั้นมีมานานกว่า 800 ปีแล้ว และสิ่งนี้เกิดขึ้นใน 5 ทวีป 4 คาบสมุทร กว่า 50 ประเทศทั่วโลก วันนี้เราจะพาคุณทัวร์รอบโลก จากฟิลิปปินส์ไปยังโคลัมเบีย ซึ่งจะได้พบเจอกับกาแฟแบบต่าง ๆ กาแฟเกรดพรีเมียม รวมถึงกาแฟ specialty มากมายเลยทีเดียว

ภูมิภาค Asia

Asia

Philippines

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้านการค้าขายกาแฟมาก เนื่องจากที่นี่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ ดินมีคุณภาพมากมายที่จะปลูกกาแฟในเชิงพาณิชย์ได้ถึง 4 ชนิดได้แก่ อาราบิก้า ลิเบอริก้า (โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อย Barako variety), เอ็กเซลซ่า และโรบัสต้า ถึงแม้ว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกจะเป็นกาแฟคุณภาพต่ำ และมักจะใช้ในการทำกาแฟสำเร็จรูป แต่ถึงอย่างนั้นก็มีกาแฟอาราบิก้าถึง 5 เปอร์เซ็นต์ที่มีเกรดค่อนข้างสูง ที่รู้จักกันในชื่อ Kapeng Tagalog ในขณะเดียวกันก็มีกาแฟ Kapeng Barako ซึ่งเป็นกาแฟสายพันธุ์ลิเบอริก้า คิดเป็นอัตราส่วน 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกาแฟสายพันธุ์นี้เองที่ชาวสเปนอ้างว่า เป็นกาแฟที่คณะสงฆ์ฟรานซิสกันได้นำเข้ามาสู่ภูมิภาคแห่งนี้ในช่วงปี 1740 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กาแฟก็ได้มีการแพร่กระจายไปสู่ทั่วประเทศ และอุตสาหกรรมกาแฟก็ได้ทำกำไรให้ฟิลิปปินส์นี้ โดยปัจจุบันประเทศแห่งนี้ผลิตกาแฟได้อยู่ในอันดับที่ 31 ของโลกเลยทีเดียว

ประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่า ประเทศของเรานั้นเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่เป็นอันดับที่ 23 ของโลกเลยทีเดียว ส่วนใหญ่เป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าที่ปลูกในภาคเหนือของบ้านเรา และกาแฟโรบัสต้าซึ่งปลูกในบริเวณภาคใต้ กาแฟมีอยู่ในประเทศของเรามาระยะหนึ่งแล้ว โดยเริ่มนำมาปลูกกันตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1900 แต่ก็ไม่มีการส่งออกหรือค้าขายในเชิงพาณิชย์จนกระทั่งปี 1976 ที่ในบ้านเรานิยมที่จะดื่มกาแฟเย็นเป็นอย่างมาก ซึ่งกาแฟเย็นในบ้านเราก็จะมีความคล้ายกับกาแฟเวียดนาม ที่มีรสหวานและให้ความสดชื่น สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป โดยในปัจจุบันบ้านเราก็เริ่มมีร้านกาแฟ specialty ให้เห็นกันมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ อุตสาหกรรมกาแฟของบ้านเราก็เริ่มเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ

Vietnam

ประเทศเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว โดยมีการส่งออกกาแฟมากถึง 1. 8 ล้านตันต่อปี กาแฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศเวียดนามก็เห็นจะเป็นกาแฟขึ้นชื่อคือกาแฟเวียดนาม และอีกเมนูหนึ่งคือ กาแฟโปะด้วยน้ำแข็ง แล้วราดนมข้นหวาน คล้ายกับน้ำแข็งใสบ้านเรา กาแฟส่วนใหญ่ของที่นี่ปลูกเพื่อการส่งออกเท่านั้น เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมที่จะดื่มชามากกว่ากาแฟอยู่ดี ชาวฝรั่งเศสได้นำเอากาแฟเข้ามาสู่ในประเทศเวียดนามในช่วงศตวรรษที่ 19 ประมาณปี 1950 มีการก่อตั้งโรงงานแปรรูปกาแฟเชิงพาณิชย์ และนับตั้งแต่นั้นประเทศเวียดนามก็เริ่มจริงจังกับการผลิตกาแฟมากขึ้น น่าเสียดายที่สงครามเวียดนามเกิดขึ้น ทำให้ประเทศแห่งนี้ต้องถูกผลักออกจากเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจในประเทศก็ค่อนข้างโกลาหล ในช่วงปี 1975 และหลังจากที่ต่อสู้ดิ้นรนมาหลายปี ประเทศนี้ก็ได้มีการปฏิรูปการเกษตรเชิงรุก ในยุค 90 อุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามก็เฟื่องฟู จนกระทั่งในปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศเวียดนามนั้น มีพนักงานมากกว่า 2.5 ล้านคน และมีการปลูกกาแฟอยู่ทั่วประเทศ

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน Asia

  • China
  • India
  • Laos
  • Timor Leste
  • Yemen

ภูมิภาค Africa

Africa

Liberia

ประเทศไลบีเรียนี้ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกของทวีปแอฟริกา สายพันธุ์กาแฟที่ปลูกกันมากที่สุดในเชิงพาณิชย์ในประเทศไลบีเรียนี้ คือกาแฟสายพันธุ์ลิเบอริก้า โดยในประเทศแห่งนี้นับว่าเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟเพื่อการบริโภคท้องถิ่นมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นประเทศที่ผลิตกาแฟอันดับที่ 36 ของโลกซึ่งนับว่าค่อนข้างห่างไกล ประเทศนี้เป็นประเทศหนึ่งที่พยายามฟื้นตัวจากสงครามกลางเมืองถึง 2 ครั้ง มีผู้คนจำนวนมากที่หนีออกนอกประเทศด้วยสาเหตุนี้ ดังนั้นจึงค่อนข้างมีปัญหาเรื่องทรัพยากรคน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมกาแฟ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประชาชนที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านั้นได้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ ไร่กาแฟมากมายในอดีตที่เคยรุ่งเรืองถูกทิ้งร้าง และในปัจจุบันก็ได้มีการส่งเสริมการปลูกกาแฟป่ากันมากขึ้น

Uganda

ประเทศยูกันดานั้นตั้งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของฮอนดูรัส นับเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 8 ของโลกเลยทีเดียว เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้าคุณภาพสูงระดับโลกที่สำคัญที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นกาแฟพื้นเมืองของประเทศนี้ กาแฟโรบัสต้าที่ปลูกในประเทศแห่งนี้ โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ Nganda และ Erecta แม้ว่าตลาดกาแฟส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟ 2 ชนิดนี้ แต่กาแฟอูกันด้าก็ยังคงมีความหลากหลาย เนื่องจากมีความหลากหลายในกระบวนการปลูกและเมล็ดกาแฟที่แตกต่างกันกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีชื่อว่า Mount Elgon, Mount Rwenzori และ West Nile ร่วมกับสภาพแวดล้อม การเติบโต และวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ทำให้คุณภาพและรสชาติของกาแฟนั้นแตกต่างกัน นี่ยังไม่รวมถึงวิธีการแปรรูปที่ต่างกันมากมายด้วย กาแฟเป็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักของประเทศนี้ โดยใช้ประชากรมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศเลยทีเดียว

Zimbabwe

ด้วยภูมิอากาศที่อบอุ่น พื้นดินและผืนป่าเขียวชอุ่ม อีกทั้งยังมีบริเวณภูเขาของประเทศซิมบับเว ที่มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างสมบูรณ์สำหรับการปลูกกาแฟเป็นอย่างมาก ทำให้กาแฟของที่นี่มีคุณภาพสูง โดยปกติมักจะเก็บเกี่ยวและแปรรูปแบบแห้ง กาแฟในประเทศซิมบับเวเป็นสินค้าส่งออกยอดนิยม เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกาแฟหลายแห่ง เช่น ในลอนดอน นิวยอร์ก และญี่ปุ่น แต่น่าเสียดายเมื่อในปี 2000 สงครามกลางเมืองทำให้เจ้าของไร่กาแฟหลายต่อหลายคนต้องหลบหนี บ้างก็ปล่อยให้คนงานดูแลไร่กาแฟกันเอง บ้างก็ไม่มีความรู้ด้านกาแฟมากพอ ทำให้สูญเสียผลิตผลคุณภาพสูงนี้ไปด้วยโรคภัยทางการเกษตรและการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ประเทศก็เข้าสู่ความยากจนสุดขีดในชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็โชคดีที่ในที่สุดอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศซิมบับเวเริ่มฟื้นตัว ด้วยการฟื้นฟูและดูแลที่ดินอย่างเหมาะสม ประเทศนี้จึงมีศักยภาพมหาศาลที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกาแฟชั้นนำของโลกอีกครั้ง

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน Africa

  • Côte d’Ivoire (Ivory Coast)
  • Malawi
  • Ghana
  • Nigeria
  • Cameroon
  • Madagascar
  • Gabon
  • Angola
  • Sierra Leone
  • Zambia
  • Togo
  • Guinea
  • Central African Republic (CAR)
  • Rwanda
  • Kenya

ภูมิภาค North America

North America

United States of America: California

นับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1800 ในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ให้ความสำคัญกับการนำเข้าเมล็ดกาแฟมากกว่าที่จะปลูกเอง ยุคตื่นทองเปิดเส้นทางการค้า สร้างศูนย์กลางสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นจากละตินอเมริกา หรือจากเอเชีย ซึ่งนั่นรวมถึงเมล็ดกาแฟด้วย แต่ในปัจจุบันนี้ บริษัทผลิตกาแฟในแคลิฟอร์เนียจำนวนมาก ได้ใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศในแถบชายฝั่งของรัฐปลูกกาแฟด้วยตนเอง ซึ่งว่ากันว่า แถบชายฝั่งตอนกลางของแคลิฟอร์เนียนั้นเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดสำหรับปลูกกาแฟคุณภาพสูง

Dominican Republic

กาแฟได้ถูกชาวสเปนนำเข้ามาในประเทศในแถบแคริบเบียนแห่งนี้ในช่วงศตวรรษที่ 18 กาแฟจากสาธารณรัฐโดมินิกันนั้นจะมีความเป็น acidity ต่ำและมักจะค่อนข้างเข้มข้น เมล็ดกาแฟเต็มเมล็ด มีบอดี้เต็ม แต่ก็มีความหวานค่อนข้างมาก หากคุณชอบกาแฟที่รสชาติค่อนข้างหวาน เมล็ดกาแฟอาราบิก้าของที่นี่น่าจะถูกใจคุณ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเติมน้ำตาลหรือนมเพิ่มเลย ในกระบวนการปลูกและการเก็บเกี่ยวกาแฟในสาธารณรัฐโดมินิกันนี้ก็ค่อนข้างมีความพิเศษ ตรงที่พวกเขาสามารถที่จะปลูกกาแฟได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถที่จะปลูกได้กลางแจ้งและในร่ม กาแฟประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้เป็นกาแฟออร์แกนิก เนื่องจากทางเกษตรกรไม่ได้มีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด

Cuba

Jose Antonio Gelabert คือผู้ที่รับผิดชอบ และทำให้ประเทศคิวบารู้จักกับกาแฟในปี 1718 แต่หลายปีต่อมาในช่วงการปฏิวัติเฮติ เมื่อชาวอาณานิคมฝรั่งเศสได้แนะนำให้ชาวคิวบารู้จักกับการเพาะปลูกกาแฟ และการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพมากขึ้น เรื่องของกาแฟก็เริ่มกลายเป็นเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อประเทศมากขึ้น ประเทศคิวบาได้กลายเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ ที่ก่อนหน้านี้เป็นส่งออกน้ำตาล และครั้งหนึ่งเคยเป็นรายใหญ่ที่สุดด้วย ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ประเทศคิวบาได้ส่งออกกาแฟมากถึง 20,000 ตัน ทำรายได้ไปถึง 21 ล้านเหรียญ แต่ทุกวันนี้ประเทศคิวบาไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 34 กาแฟได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมคิวบา ด้วยการที่ผู้คนนิยมดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งกับอาหาร กาแฟประเภทหนึ่งที่มักจะเสิร์ฟพร้อมกับอาหารโดยทั่วไปมีชื่อว่า Café con leche ซึ่งเป็นกาแฟที่เสิร์ฟร้อน โดยจะทำการใช้นม 80 เปอร์เซ็นต์ผสมกับเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย และเสิร์ฟพร้อมกับอาหารหลักของชาวคิวบา เช่น ขนมปังทาเนย นอกจากนั้นผู้คนยังดื่ม Café con leche นี้คู่กับอาหารเช้า รวมถึงอาหารของเด็ก ๆ ด้วย

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน North America

  • United States of America: Hawaii
  • Jamaica
  • Mexico
  • Trinidad and Tobago

ภูมิภาค South America

South America

Bolivia

ประเทศโบลิเวียนั้นเป็นประเทศที่อยู่อันดับสุดท้ายในรายชื่อผู้ผลิตกาแฟชั้นนำของโลก อยู่ในอันดับที่ 36 ในอดีตนั้นประเทศแห่งนี้ได้ประสบปัญหาในการผลิตกาแฟคุณภาพต่ำ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะนำมาใช้ในกาแฟผสม หรือนำมาทำกาแฟสำเร็จรูปเท่านั้น เนื่องด้วยประเทศนี้เป็นประเทศที่ยากจน ต้องเจอกับความท้าทายหลายอย่าง ปัญหาเชิงโครงสร้าง เทคโนโลยีที่ไม่ได้ทันสมัย และการขาดแรงงานที่มีทักษะความรู้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องของวิธีจัดการกับโรงงานด้วย การต่อสู้เพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพเยี่ยมจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากของประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่น่ายินดี เพราะทุกวันนี้ประเทศโบลิเวียกำลังสร้างชื่อให้กับตัวเองในด้านอุตสาหกรรมกาแฟ กับกาแฟสเปเชียลตี้ และกลายเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ส่งออกกาแฟมากขึ้น ได้มีการสนับสนุนทางเศรษฐกิจและมีโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งได้ช่วยชาวไร่กาแฟในบริเวณให้ลืมตาอ้าปากได้ ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูก การเก็บเกี่ยว รวมถึงการส่งออกกาแฟทั้งหมดด้วย

Ecuador

ค่อนข้างเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่อัตราการตัดไม้ทำลายป่าในเอกวาดอร์ บวกกับผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดผลเสียต่ออุตสาหกรรมกาแฟของเอกวาดอร์เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนั้นก็ยังมีพื้นที่ไม่กี่แห่งที่ยังคงผลิตกาแฟอยู่ เช่น ในภูมิภาคที่มีชื่อว่า Andes และในจังหวัด Manabí ที่อยู่บริเวณริมชายฝั่งของประเทศ กาแฟส่วนใหญ่ปลูกขึ้นในไร่ขนาดเล็ก และโดยปกติแล้วจะไม่ได้ปลูกไว้เพื่อค้าขาย ในประเทศแห่งนี้มีการผลิตกาแฟน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของโลก แม้จะมีผลผลิตที่ค่อนข้างต่ำ แต่ชาวเอกวาดอร์กว่า 500,000 คนก็ยังคงต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมกาแฟในท้องถิ่นเพื่อความอยู่รอด มากกว่า 2 ใน 3 คนต้องหนีออกจากประเทศนี้เพื่อหาเลี้ยงชีพ และให้ตัวเองสามารถมีชีวิตรอดต่อไปได้

Paraguay

ประเทศปารากวัยนั้นเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นหลักเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด พืชผลส่วนใหญ่ของประเทศนี้จะเป็นประเภทถั่วเหลือง กาแฟส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นกาแฟอาราบิก้า ซึ่งจะมีกรรมวิธีการแปรรูปทั้งแบบเปียกและแบบแห้ง ในประเทศปารากวัยยังมีปัญหาเรื่องส่วนแบ่งที่ไม่เท่าเทียมระหว่างชาวบ้านและภาครัฐ ดังนั้นอุตสาหกรรมกาแฟ (ในที่นี้หมายถึงการปลูกกาแฟ) ในประเทศแห่งนี้จึงไม่ได้ปลูกกันเป็นประจำ หรือมีความสม่ำเสมอ สิ่งนี้ทำให้ดินของที่นี่ไม่ได้เหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟ อีกทั้งประเทศที่ไม่ได้มีทางออกสู่ทะเล ทำให้การค้าขายกาแฟค่อนข้างยากกว่าหลายประเทศที่เป็นเมืองท่า ในปัจจุบันนี้ในประเทศปารากวัยส่วนใหญ่จะปลูกกาแฟไว้เพื่อบริโภคภายในประเทศเท่านั้น

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน South America

  • Peru
  • Venezuela

ภูมิภาค Central America

Central America

El Salvador

ในช่วงปี 1880 กาแฟได้กลายมาเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ เมื่อเห็นชัดเจนว่าพืชผลนี้สามารถทำกำไร และทำให้มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี ชนชั้นสูงผู้มั่งคั่งของประเทศแห่งนี้จึงใช้อำนาจเพื่อควบคุมกาแฟทั้งหมด ในช่วงปี 1880 ถึง 1882 ได้มีการตรากฎหมาย “Liberal Reforms” ซึ่งเป็นการให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ๆ ซึ่งมีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่เป็นเจ้าของที่ดินทำกิน และมีเกษตรกรมากมายที่ถูกบังคับให้ออกจากไร่กาแฟ การปฏิรูปในครั้งนี้ทำให้ประชากรของเอลซัลวาดอร์เกือบครึ่งไม่มีที่ดินทำกิน และต้องหางานใหม่  ผลกระทบต่อมาคือ หลายคนถูกบังคับให้ทำงานมากขึ้น และอยู่ภายใต้การทำงานที่กดดัน ปัญหานี้ค่อย ๆ คลี่คลายลง เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับเลือกตั้งในอีก 10 ปีต่อมา และอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศเอลซัลวาดอร์ก็อยู่รอดและได้ไปต่อ แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ทุกวันนี้ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟชาวเอลซัลวาดอร์ก็เริ่มลืมตาอ้าปากได้ มีการจัดตั้งสหกรณ์การค้าที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร ที่หากเกษตรกรมาอยู่ในเครือข่ายสหกรณ์นี้ จะสามารถขายกาแฟได้ในราคาที่สูงขึ้น ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือด้านการตลาด รวมถึงเทคนิค กระบวนการผลิต และส่งออกกาแฟ

Honduras

นับตั้งแต่ปี 2011 ประเทศฮอนดูรัสก็ยังคงเป็นผู้ผลิตกาแฟชั้นนำของทวีปอเมริกากลาง ซึ่งหากคิดเป็นอันดับโลก จะอยู่ที่อันดับ 7 เลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออกกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก อุตสาหกรรมกาแฟมีความสำคัญต่อประเทศนี้มาโดยตลอด โดยชาวฮอนดูรัสนั้นค่อนข้างภาคภูมิใจอย่างมากเกี่ยวกับกาแฟและประวัติศาสตร์ของประเทศของตนเอง บางคนยังถือว่า อุตสาหกรรมกาแฟของฮอนดูรัสนี้เอง มีส่วนสำคัญในการรักษาเศรษฐกิจของประเทศนี้ให้คงอยู่ เมื่อประเทศได้เผชิญกับความขัดแย้งทางการเมืองและการรัฐประหารในปี 2009 ถึงแม้ว่าประเทศนี้จะเป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางสงครามกลางเมือง ผู้คนต้องดิ้นรนกับความยากจน ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถึงเป็นอย่างนั้น ผู้คนก็ทำงานกันหนักมากขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมกาแฟก็ยังคงดิ้นรนอยู่ ทำให้ผู้คนเหล่านี้สามารถที่จะรอดไปได้ ทำให้ตอนนี้ประเทศฮอนดูรัสเป็นคู่แข่งสำคัญ ของประเทศผู้ผลิตกาแฟชั้นนำอย่างบราซิลและโคลัมเบีย โดยทั้งประเทศแบ่งออกเป็นเขตปลูกกาแฟ 6 เขต แต่ละเขตก็จะมีกาแฟที่มีความแตกต่างกัน ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดหาจัดจ้างคนมาทำงานในประเทศมีความแพร่หลายและทั่วถึงมากขึ้น โดยทั้งอุตสาหกรรมกาแฟนี้มีการจ้างงานคนกว่า 2 ล้านคนเลยทีเดียว

Nicaragua

ประเทศนิการากัวนี้ตกอันดับ จากแต่เดิมเป็นผู้ผลิตกาแฟชั้นนำอันดับโลกอยู่ที่อันดับ 10 มาเป็นอันดับ 12 กาแฟในประเทศแห่งนี้ปลูกและเก็บเกี่ยวกันเพื่อส่งออก หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ผืนป่าอันเขียวชอุ่มของประเทศแห่งนี้ไว้ ในตอนแรก กาแฟได้ถูกปลูกบริเวณชายฝั่งแปซิฟิกของประเทศ แต่ในปัจจุบันการผลิตกาแฟส่วนใหญ่มาจาก 3 ภูมิภาคหลักของประเทศนิการากัว Segovias (ซึ่งกาแฟที่ได้จะมีความเป็นดอกไม้และ acidity สูง) , Matagalpa และ Jinotega พื้นที่และภูมิภาคเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลูกกาแฟ เนื่องจากมีดินภูเขาไฟที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและพืชพรรณเขียวชอุ่ม ซึ่งทำให้กาแฟมีสารอาหารมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกว่า 45,000 รายและครอบครัว จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสินค้าชนิดนี้เพื่อความอยู่รอด โดยส่วนใหญ่จะเป็นไร่ขนาดเล็ก และมีสมาชิกในครอบครัวเพียงคนหรือ 2 คนในการดูแล ซึ่งก็มีการเติบโตและมีรายได้ที่มั่นคงสมบูรณ์ โดยเกษตรกรยังสามารถที่จะปลูกพืชผักกินเองได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ด้วย ความยั่งยืนนี้เองทำให้เกษตรกรชาวนิการากัวสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้ อีกทั้งยังมีผลผลิตอื่นในการค้าขายได้อีกด้วย

ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกกาแฟใน Central America

  • Panama
  • Costa Rica

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *