กาแฟศาสตร์ 101: คำที่เกี่ยวข้องกับ กาแฟ

หากเราได้มีโอกาสซื้อ กาแฟ ถุง เพื่อที่จะเอาไว้ชงดื่มเองอย่างสบายใจ หรือแม้แต่เราไปนั่งดื่มร้านกาแฟ ที่ทางร้านคั่วกาแฟด้วยตัวเอง เรามักจะได้ยิน หรือเคยผ่าน ๆ ตามากับคำเหล่านี้ Third Wave, Single Origin, Micro Lot และศัพท์แสงอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นหู หรืออาจจะคุ้นหู แต่ก็ยังงงอยู่ ว่าคำเหล่านี้หมายถึงอะไรกันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในร้านกาแฟ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นร้านกาแฟแบบสเปเชียลตี้ หรือร้านกาแฟพิเศษ ทำให้เรางง และไม่อาจเข้าถึงกาแฟเหล่านั้นได้

ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้สามารถดื่มกาแฟได้อย่างมีความเข้าใจ และสามารถตามรานกาแฟ หรือบาริสต้าได้ทัน อย่างน้อยการรู้คำศัพท์บางคำเหล่านี้ อาจสามารถทำให้เราเข้าใจเครื่องดื่มที่เราดื่ม รวมถึงอาจได้ความรู้มากขึ้นจากการแค่นั่งดื่มกาแฟ และพูดคุยกับบาริสต้าก็ได้ อีกทั้งเรื่องที่สำคัญที่สุด เราจะสามารถเลือกซื้อกาแฟได้อย่างถูกต้อง และถูกใจ อีกท้งยังอร่อยถูกปากได้ด้วย

และวันนี้ เราขอรวบรวมคำศัพท์ ที่เรามักจะพบได้บ่อย ๆ ในร้านกาแฟ รวมถึงอุตสาหกรรมกาแฟในภาพใหญ่ เพื่อที่จะได้มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องของกาแฟมากยิ่งขึ้น คำศัพท์ที่จะมาแนะนำเหล่านี้ อาจจะเป็นคำศัพท์ที่ใครหลายคนเคยผ่านหูผ่านตามาแล้ว กับบางคำที่อาจเป็นคำใหม่ ที่ยังไม่พบเห็นที่ไหนมาก่อน แค่เชื่อเถอะว่า การรู้ถึงคำศัพท์เหล่านี้ไว้ เราจะสามารถหยิบมาใช้งานได้อย่างแน่นอน

Roasted coffee in Ethiopia

Craft & Artisan

นี่เป็นคำศัพท์ 2 คำ คำว่า “craft” และคำว่า “artisan” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในอุตสาหกรรมกาแฟทั่วโลก แต่คำคำนี้ ในบ้านเรามักจะไม่ค่อยได้ยินกันมากนัก ใน Oxford Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า craft ไว้ว่า “an activity involving a special skill at making things with your hands” หรือก็คือ “กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะพิเศษในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ” และอีกคำ คำว่า artisan มีคำจำกัดความว่า “a person who does work that needs a special skill, [which involves] making things with their hands” หรือก็คือ “ช่างผีมือ หรือบุคคลที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้ทักษะพิเศษ ทำงานนั้น ๆ ด้วยมือของตน”

คำว่า craft and artisan ไม่ได้ถูกใช้แค่ในอุตสาหกรรมกาแฟเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมักจะผูกติดกับผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ยากตัวอย่างคำว่า คราฟต์เบียร์ หรือคราฟต์โคล่า เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่กล่าวมา จะค่อนข้างมีความพิเศษ และความพรีเมียมมากกว่าแบบปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ความจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะพิเศษบางอย่างในการทำ หรือในการผลิตนั่นเอง

ในอุตสาหกรรมกาแ รวมถึงอุตสาหกรรมกาแฟพิเศษ คำว่า craft and artisan มักจะมีความเกี่ยวข้องกับในภาคของการคั่วกาแฟ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะเฉพาะตัว ในต่างประเทศยังมีอีกคำ คือคำว่า “hand-roasted”

การที่จะใช้ทักษะต่าง ๆ ในการทำงานประเภท craft and artisan ออกมาได้จำเป็นที่จะต้องฝึกฝนและใช้เวลาอย่งยาวนา ดังนั้นผู้คั่วกาแฟจะสามารถที่จะแสดงทักษะในการคั่วกาแฟที่ได้เรียนรู้มาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังเนการแสดงความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับกาแฟออกมาด้วย

แต่แล้ว ในตลาดกาแฟในปัจจุบัน อุตสาหกรรมถูกดำเนินการด้วยเครื่องจักร เป็นระบบอัตโนมัติกันไปหมดแล้ว แล้วแบบนี้ จะมีที่ยืนสำหรับงาน craft and artisan หรือไม่ ในภาคกาแฟ เคยมีการคุยถึงเรื่องนี้กันอยู่ และได้ข้อสรุปว่า เครื่องจักรอัตโนมัติ ที่ได้นำมาใช้ในอุตสาหกรรอมกาแฟ เป็นเหมือนตัวช่วย ที่ช่วยในการเสริมทักษะการคั่วกาแฟของโรสเตอร์มากกว่า เครื่องจักรเหล่านี้ ช่วยให้การคั่วกาแฟออกมาสม่ำเสมอมากที่สุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในการทำกาแฟ เครื่องจักรเหล่านี้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์มาเป็นกราฟแบบ s curve ให้เราได้เห็นกันชัด ๆ เลยสิ่งเหล่านี้เพียงแค่เข้าเอื้อ เพื่อให้โรสเตอร์สามารถใช้องค์ความรู้ บวกกับทักษะที่มีได้อย่างเต็มที่

The Third Wave of Coffee

ใคร ๆ ก็บอกว่า เรากำลังอยู่ในยุคที่เรียกว่า third wave of coffee หรือยุคคลื่นลูกที่สามในวงการกาแฟ คำคำนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Timothy Castle ในช่วงปี 2000 แต่กลับเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จากที่ Tris Rothgeb นำมาใช้ในหนังสือ Roasters Guide ในปี 2003

เนื้อหาที่เขาเขียน ได้มีการระบุว่า มีคลื่นอยู่ทั้งหมด 3 ลูก คลื่นลูกแรก หรือ First Wave of Coffee เริ่มขึ้นเมื่อมีการบริโภคกาแฟในสหรัฐอเมริกา ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ๆ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงที่กาแฟเริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เครื่องดื่มสามารถเข้าถึงได้ทุกบ้าน และพร้อมหยิบมาใช้งานทันที ทั้งในรูปแบบของกาแฟคั่วบด และกาแฟสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้มีอัตราที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้คนสามาถเข้าถึงกาแฟได้ง่ายดายเพียงเหมือนเพียงแค่ดีดนิ้ว

หลังจากนั้นไม่นาน คลื่นลูกที่สอง หรือ Second Wave of Coffee ก็มาถึง เริ่มต้นในช่วงปี 1970 และจุดนี้เป็นจุดที่เราได้เห็นกาแฟ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สินค้าอีกต่อไป แต่การได้ดื่มกาแฟ เปรียบเสมือนการได้ประสบการณ์บางอย่างเพิ่ม กาแฟกลายเป็นประสบการณ์มากกว่าเป็นสินค้า ด้วยการเกิดขึ้นของบรรดาร้านกาแฟต่าง ๆ ตัวอย่างของร้านกาแฟที่เกิด และเติบโตอย่างมากในยุคนี้ คือร้านกาแฟชื่อดัง Starbucks ก่อตั้งขึ้นในปี 1971 นับว่าเป็นเสมือนผู้นำแห่งยุคกาแฟคลื่นลูกที่สองเลยก็ว่าได้

นอกจากนี้แล้ว ร้านกาแฟที่เกิดและเติบโตขึ้นในยุคคลื่นลูกที่สงนี้ ยังทำให้การมาร้านกาแฟ เปรียบเสมือนการมา “บ้านหลังที่ 2” ให้ประสบการณ์นี้กับลูกค้า ผู้คนสามารถที่จะมาพบปะพูดคุย สังสรรค์ หรือใช้เวลาในร้านกาแฟได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง

และแล้ว ก็มาถึงยุคของ กาแฟคลื่นลูกที่สาม หรือ Third Wave of Coffee ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมกาแฟของสแกนดิเนเวียเป็นส่วนใหญ่ ชาวสแกนดิเนเวียมักจะชอบกาแฟอ่อน ๆ มีความละเอียด จึงมักชอบคั่วกาแฟแบบอ่อน ๆ มากกว่าแบบเข้ม ๆ การคั่วกาแฟให้เข้มเข้าไว้ ถือเป็นเอกลักษณ์และเรื่องปกติของกาแฟในยุคคลื่นกาแฟลูกแรกและลูกที่สองเลย

วัฒนธรรมกาแฟคลื่นลูกที่สาม เป็นการเน้นไปที่ฝีมือการทำกาแฟ (กลับมาที่ craft and artisan) เพื่อเน้นไปที่กาแฟมีรสชาติที่ละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น เน้นไปที่การคั่วกาแฟอ่อนถึงปานกลาง เพื่อที่จะได้สัมผัสกับรสชาติของกาแฟได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความละเอียดอ่อนในกาแฟมากขึ้น บาริสต้าจำเป็นต้องมีทักษะ มีเทคนิค และความเข้าใจในกาแฟมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่การผลิตกาแฟคุณภาพสูง รวมถึงกาแฟแบบพิเศษด้วย

สิ่งนี้เปรียบเหมือนการให้ความสำคัญที่เปลี่ยนไป ในยุคที่แล้ว มีการให้ความสำคัญกับ “สถานที่” หรือก็คือ ร้านกาแฟมากกว่า แต่ในยุคต่อมานี้ มีการให้ความสำคัญกับ “ผลิตภัณฑ์” หรือก็คือกาแฟจริง ๆ กาแฟนี้มีแหล่งกำเนิดมาจาไหน ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร มีกระบวนการแบบไหน ก่อนที่จะมาเป็นกาแฟให้เราได้ดื่มกันนี้

Pour-Over Brewing

และผู้บริโภค ก็ยังให้ความสำคัญ และให้ความสนใจเกี่ยวกับการได้รู้ที่มาของกาฟที่ตนเองบริโภคด้วย ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพียงแค่หน้าร้านกาแฟที่ตัวเองดื่มเท่านั้น แต่ยังให้ความสนใจไปทั่วทั้งห่วงโซ่ในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ความสำคัญในตัวผู้ผลิต

ผู้บริโภค ต้องการที่จะรู้ หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกกาแฟที่กำลังดื่มอยู่ รวมถึงวิธีการปลูก และการดูแลกาแฟ ทั้งนี้รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องลึก ๆ อย่างเรื่องของพันธุ์ พื้นที่ ระดับความสูงในการปลูกกาแฟ วิธีการแปรรูป หรือการโพรเซสกาแฟ แล้วทำการเก็บข้อมูล ทำการเปรียบเทียบ และสนุกไปกับการดื่มกาแฟ

ไม่เพียงแค่นั้น ด้วยสิ่งเหล่านี้ นำไปสู่การที่ผู้บริโภค ให้ความใส่ใจในเรื่องของความโปร่งใส และการที่กาแฟสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นอกจากจะรู้ที่มาของกาแฟที่ดื่มอยู่แล้ว ยังต้องมั่นใจอีกว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจะได้รับค่าแรงอย่งเป็นธรรม ให้สมกับการที่หมั่นดูแล และปลูกกาแฟคุณภาพเหล่านี้ให้ผู้บริโภคได้ดื่มกัน และเล่านี้คือเรื่องราวของ ยุคแห่งกาแฟคลื่นลูกที่สาม หรือ Third Wave of Coffee

Single Origin, Mocri Lot & Nano Lot

ในร้านกาแฟสเปเชียลตี้ เรามักจะเห็นกาแฟหลากหลายแบบ หากลองสังเกตข้างถุงกาแฟ เราจะเห็นทั้งกาแฟแบบผสม หรือกาแฟเบลนด์ ลักษณะก็ตรงตัวอยู่แล้ว เป็นการนำกาแฟหลายตัวมาผสมกัน เพื่อให้ได้รสชาติที่น่าสนใจ และต้องการนำเสนอ และกาแฟรูปแบบ single origin คำคำนี้ มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างหลากหลายมาก

คำว่า single origin ในวงกว้างจะหมายถึงกาแฟที่ปลูกจากแหล่งเดียว แต่ไม่ใช่แค่นั้น ยังจำเป็นที่จะต้องเจาะจงลงไปให้มากขึ้น จะต้องเป็นกาแฟพันธุ์เดียวกันด้วย นอกจากนี้ คำนี้ยังใช้กล่าวถึงภูมิภาคการผลิตกาแฟ ไม่ใช่แค่นั้น เนื่องจากในตลาดกาแฟ และเทรนด์กาแฟในปัจจุบัน ความสำคัญของการดื่มกาแฟ คือการที่สามาถตรวจสอบถึงต้นทางของกาแฟที่เราบริโภคได้ ซึ่งจะยิ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นไปอีก หากกาแฟที่เราบริโภค เป็นกาแฟสเปเชียลตี้ จากที่กล่าวมานี้ คำว่า กาแฟ single origin ยังอาจหมายถึงกาแฟตัวนั้น ๆ นอกจากจะต้องผลิตจากแหล่ง หรอภูมิภาคเดียวแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องมาจาก “ไร่เดียว ที่ดินเดียว หรือสหกรณ์เดียวกัน” เท่านั้น

นั่นหมายความว่า กาแฟแบบ single origin เป็นกาแฟที่สามารถสืบย้อนไปได้ถึงเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟแต่ละคนที่ปลูก และดูแลผลผลิต ตลอดจนถึงไร่กาแฟที่ปลูกกาแฟนั้น ๆ ด้วย

และเนื่องด้วยรายละเอียดเบื้องหลังกาแฟที่มีมากมายนี้เอง การที่สามารถตรวจสอบถึงต้นทาง และที่มาของกาแฟได้ จึงทำให้กาแฟ micro lot และ nano lot มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น micro lot คือกาแฟที่มาจากแปลงปลูกเล็ก ๆ ในไร่กาแฟ จากนั้น จะทำการเก็บเกี่ยว และทำการโพรเซสแยกต่างหากจากกาแฟอื่น ๆ ในไร่เดียวกัน หรือในการเก็บเกี่ยวเดียวกัน ทำให้สามารถที่จะรักษาคุณภาพ และคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของกาแฟนั้น ๆ ไว้ได้ เรียกว่าใส่ใจเป็นพิเศษได้ เนื่องจากมีจำนวนน้อย

คำว่า nano lot มีความคล้ายคลึงกับคำว่า micro lot แต่จะเป็นกาแฟที่ปลูก และเก็บเกี่ยวในแปลงปลูกที่มีขนาดเล็กลงไปอีก บางครั้ง ผู้ผลิตจะทำการทดลองกับกาแฟเหล่านี้เพิ่มเติม อย่างการนำมาโพรเซสแบบพิเศษ เช่น การนำมาทำ anaerobic หรือแม้แต่การนำมาทำ carbonic maceration สำหรับทั้งกาแฟ micro lot และ nano lot เพื่อที่จะสามารถดันราคาให้สูงขึ้นไปอีกได้ และยังสามารถที่จะสร้างกาแฟที่มีรสชาติซับซ้อน และมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น ควบคู่ไปกับการที่สามาถควบคุมกระบวนการต่าง ๆ อย่างเช่น การหมัก ได้มากขึ้น

จากการที่เก็บเกี่ยงผลผลิตในล็อตที่เล็กลง การโพรเซสที่มีการทดลองทำแบบพิเศษได้มากขึ้น ดังนั้นบรรดากาแฟ micro lot และ nano lot จึงมีความพิเศษเฉพาะตัวมาก เรียกได้ว่า เป็นกาแฟสเปเชียลตี้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังสามารถที่จะทำราคาได้ในระดับที่สูงมาก

Sustainability, Traceability & Transparency

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สามคำนี้ได้แก่ Sustainability ความยั่งยืน Traceability การตรวจสอบย้อนหลัง และ Transparency ความโปร่งใส ล้วนเป็นคำที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอุตสาหกรรมกาแฟ และในหมู่ผู้บริโภคกาแฟสเปเชียลตี้ แนวคิดทั้งสามคืออะไร และมีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง

คำว่า ความยั่งยืน หมายถึงการที่อุตสาหกรรมสามารถที่จะดำเนินการ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องไม่ไปกระทบกับความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต และต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เรื่องของความยั่งยืน ยังจำเป็นที่จะต้องครอบคลุมในเรื่องขงอการใส่ใจปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และศรษฐกิจด้วย

Biodynamic Coffee Farm

หากจะให้เปรียบเทียบก็คือ ความยั่งยืนคือการที่ในอุตสาหกรรมทำอะไรแบบดิมเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค และในอีกสอบปีต่อมา ก็ยังคงสามารถที่จะทำแบบนั้นได้อยู่ หากในอุตสาหกรรมกาแฟ คือการที่สามารถที่จะมีกาแฟดี ๆ มีคุณภาพดื่มกันอยู่ และผู้ผลิตได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น สามารถที่จะปลูกกาแฟบนพื้นที่เดิม พื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์ จากนั้ 10 ปีผ่านไป พื้นที่ตรงนั้นต้องยังสามารถที่จะปลูกกาแฟได้อยู่ และได้ผลผลิตกาแฟที่ใกล้เคียงจากเดิม

ต่อไปจะเป็นในเรื่องของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างง่าย ๆ บริษัทกาแฟบริษัทหนึ่ง ซื้อกาแฟจากไร่กาแฟเดียวกันทุกปี สิ่งนี้ถือว่าเป็นความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมกาแฟ อาจมีการทำข้อตกลงระยะยาว หรือมีหนังสือสัญญาการซื้อขายกาแฟ สิ่งเหล่านี้ทำให้บรรดาเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีความมั่นคงทางการเงินมากยิ่งขึ้น

เรื่องของความยั่งยืนนี้ มีความเชื่อมโยงกับเรื่องของความสามารถในการตรวจสอบย้อนหลัง และเรื่องของความโปร่งใสด้วย

ต่อไปจะเป็นคำว่า “การตรวจสอบย้อนหลัง” คำคำนี้หมายถึงการที่ผู้บริโภคสามารถรู้ได้ว่า กาแฟที่ดื่มอยู่นี้มาจากไหน ในขณะที่คำว่า “ความโปร่งใส” คือการทู้บริโภคต้องสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับซัพพลายเชนให้ได้มากที่สุด หมายความว่า รู้ว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องในทุกขั้นตนการผลิตกาแฟ รวมถึงบรรดาโรงสี สหกรณ์ บริษัทขนส่ง ผู้ส่งออก และคลังสินค้าด้วย

ในเรื่องของความโปร่งใส เป็นเรื่องที่ในบางตลาดเรียกได้ว่าให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงขั้นว่าจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลอย่างละเอียด เกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตกาแฟ และแต่ละคนได้เงินจากห่วงโซ่นี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ ส่วนมากคนที่ใส่ใจในเรื่องของความโปร่งใสถึงระดับนี้ จะเป็นผู้ที่มีส่วนเกียวข้องในอุตสาหกรรมกาแฟมากกว่า ผู้บริโภคทั่วไปไม่น่าที่จะสนใจในเรื่องนี้ถึงขนาดนี้ อย่างมากที่สุดก็อาจจะมีบ้าง ที่สนใจในเรื่องของการเลือกกาแฟ ที่มีการใช้แรงงานเกษตรกรอย่างเป็นธรรม ในไร่กาแฟในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลายประเทศในแอฟริกา ที่เกษตรกรได้รับความไม่เป็นธรรมในด้านรายได้ แต่นั่นมันก็เรื่องเมื่อหายปีก่น คาดว่าเดี๋ยวนี้น่าจะมีการปรับปรุงกันหมดแล้ว

Social Responsibility

มีรายงานข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการบริโภคกาแฟในปี 2022 จากสมาคมกาแฟแห่งชาติสหรัฐอเมริกา พบว่า การบริโภคกาแฟในกลุ่มคนอายุ 18-24 ปี เพิ่มสูงขึ้นถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 กลุ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้ ซึ่งคือกลุ่มคนเจน Z รวมถึงคนกลุ่มมิลเลนเนียล มีความตระหนกรู้มากขึ้น และได้ทำการเลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัท องค์กร หรือร้านที่ตนเองเชื่อใจเท่านั้น

การศึกษาจาก Cone Communications Millennial CSR Study ในปี 2015 พบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของคนในรุ่นมิลเลนเนียลในสหรัฐอเมริกาที่บริโภคกาแฟ เลือกซื้อกาแฟจากแบรนด์ที่มี social responsibility หรือ “มีความรับผิดชอบต่อสังคม” มากยิ่งขึ้น ตัวเลขนี้ยังคงคงที่ และไม่ได้ลดลงเลยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี

คำคี้เป็นคำที่หลายคนได้ยินกันจนชินหู ไม่ว่าจะในภาคส่วน หรือในอุตสาหกรรมไหน การมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นสิ่งที่พึงกระทำมาก คำคำนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทและความสำคัญในอุตสาหกรรมกาแฟมากขึ้น คือการที่ไม่ว่าบริษัท หรือผู้ผลิตกาแฟเจ้าไหนต้องการที่ตะปรับปรุง หรือต้องการผลิตและขายสินค้าออกมาสู้บริโภค จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และชุมชนด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟหลายร้านเริ่มที่จะหันมาใส่ใจ และรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้านำแก้วกาแฟมาเอง หรือไม่ก็ให้นำแก้วเดิมมาใช้งานซ้ำ หรืออาจมีส่วนร่วมในการหักยอดขาย กี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่าไป มาสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือต่าง ๆ

เรื่องที่สำคัญมาก ๆ เรื่องหนึ่ง และทั้งอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ คือเรื่องของขยะกาแฟ มีการรณรงค์ และการพยายามลดขยะกาแฟในทั้งห่วงโซ่ ทั้งเรื่องของการเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากขยะ รวมถึงการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนจากกระบวนการขนส่ง หรือจะเป็นการลดการใช้น้ำ หรือนำน้ำนั้นมาใช้ซ้ำ หรือบำบัด แล้วปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในกระบวนการโพรเซสด้วย

ในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมนี้ สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะในส่วนไหนของห่วงโซ่การผลิต

ในโคลอมเบีย มีการก่อตั้งองค์กร Red Association เพื่อที่จะทำให้ผู้ค้าสารกาแฟ สามารถที่จะทำงานร่วมกับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน องค์กรนี้ได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย จุดมุ่งหมายขององค์กรนี้ คือเพือปรับปรุงคุณภาพของกาแฟ และยังพยายามเมฐานราคาให้แก่เกษตรกรด้วย

Fazenda Camocim

คำศัพท์เหล่านี้ ค่อนข้างเป็นคำที่ลึก และถูกกล่าวถึงในอุตสาหกรรมกาแฟภาพใหญ่อยู่ตลอด ภึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ แต่การพอรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไว้บ้าง ก็จะทำให้เราได้เข้าใจอุตสาหกรรมกาแฟโดยรวมมากขึ้น รวมถึงเข้าใจถึงที่มาที่ไปของเครื่องดื่มของเรามากขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังสามารถที่จะนำไปต่อยอด สำหรับผู้ที่ต้องการศุกษาเรื่องราวของกาแฟให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดเฉพาะอย่างยิ่ง เรืองของบรรดากาแฟสเปเชียลตี้ที่หลากหลาย ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำศัพท์เหล่านี้โดยตรง

หากในฐานะผู้บริโภคทั่วไป อาจช่วยให้สนุก และรู้สึกว่า กาแฟมีอะไรมากกว่าที่เห็นก็ได้ แล้วเมื่อเราสนุก เราจะมีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และน่าจะมีความสุขในการดื่มกาแฟมากขึ้นได้ด้วย