ประเทศเอกวาดอร์นั้น นับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 20 ของโลก ซึ่งนับว่าเป็นอันดับต้นๆ แต่ถึงอย่างนั้น ประเทศเอกวาดอร์นี้ก็มีตัวเลขการ นำเข้ากาแฟ ทีเซ็งหน้าอีกหลากหลายประเทศไปมากเลยทีเดียว จากผลสำรวจในปีการเพาะปลูก 2018/19 ในประเทศสามารถผลิตกาแฟได้มากถึง 500,000 กระสอบ (60 กิโลกรัม) แต่มีอัตราการนำเข้าที่มากกว่านั้น อยู่ที่ถึง 714,000 กระสอบเลยทีเดียว
การค้าสารกาแฟระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตาม หรือทั่วโลกที่มีอุตสาหกรรมกาแฟเติบโตทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดรับต่อความต้องการที่แตกต่างกันไปของผู้บริโภค และของอุตสาหกรรมที่เป็นปัจเจกของแต่ละในประเทศเอง แต่หากเทียบกับประเทศเอกวาดอร์ การ นำเข้ากาแฟ เหล่านี้ นับว่ามีอัตราที่น้อยมาก แล้วเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน ว่าเหตุใดประเทศเอกวาดอร์ จึงทำการนำข้าวสารกาแฟจำนวนมาก และสารกาแฟที่ได้จะไปทำอะไรต่อ สิ่งนี้มีความหมาย ทำให้อุตสาหกรรมกาแฟในประเทศมีความแตกต่างหรือไม่ และส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ผลิตกาแฟ
ภาพรวมของอุตสาหกรรมกาแฟในเอกวาดอร์
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ในช่วงปี 2019/20 ประเทศเอกวาดอร์ สามารถที่จะผลิตกาแฟได้อยู่ที่ 500,000 กระสอบ ซึ่งหากนำมาเทียบกับเมื่อรอบปีก่อน หรือก็คือปี 2018/19
แต่ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวเลขการผลิตกาแฟในประเทศจะเป็นอย่างไร สิ่งที่มีความสำคัญกว่ามาก ที่เราจะหยิบยกมาคุยกัน คือเรื่องของตัวเลขการนำเข้าและส่งออก ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2020 ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ประเทศเอกวาดอร์ได้ทำการส่งออกกาแฟ อยู่ที่ประมาณ 198,000 กระสอบ ในปีการเพาะปลูก 2018/19 ได้มีการส่งออกสารกาแฟไปมากถึง 572,000 กระสอบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทำการส่งออกไปยังประเทศเยอรมนีและประเทศรัสเซีย
กาแฟที่ปลูกในประเทศเอกวาดอร์ส่วนใหญ่นั้น จะเป็นกาแฟที่ปลูกในเขตที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดีส นี่เป็นเพียงแค่ภาคส่วนของการปลูกกาแฟเท่านั้น แต่ในด้านของการผลิตกาแฟ ไม่ได้จำกัดพื้นที่ อยู่แค่บริเวณเทือกเขาแอนดีสที่ว่านี้
ประเทศเอกวาดอร์นั้น ผลิตกาแฟเป็นหลัก มีภูมิภาคในการผลิตกาแฟอยู่ด้วยกัน 4 ภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น Sierra ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผลิตกาแฟโดยเน้นไปที่กาแฟสเปเชียลตี้ พันธุ์กาแฟยอดนิยมที่มักจะถูกปลูกอยู่ในภูมิภาคนี้ได้แก่ Typica, Caturra, Bourbon, Typica Mejorado รวมถึง SL-28 ด้วย
ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคในแถบเขต Amazon และภูมิภาคในเขตชายฝั่ง กาแฟยอดนิยมที่ปลูกที่นั่นจะเป็นโรบัสต้าเสียส่วนใหญ่ พื้นที่กาแฟยอดนิยมในแถบนั้นได้แก่ Los Rios, Santo Domingo de Los Tsachilas, Sucumbios และ Orellana
ถึงแม้ว่าในประเทศเอกวาดอร์ จะเต็มไปด้วยกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูง ที่ถูกปลูกบนพื้นที่ที่ค่อนข้างสูง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีอาราบิก้าที่ปลูกอยู่บนพื้นที่ที่ค่อนข้างต่ำด้วยเช่นกัน อย่างในเขต Manabí ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งของเอกวาดอร์ และ Morona Santiago ในเขตป่าอะเมซอน
ภูมิภาคที่กล่าวมาเหล่านี้ มีผู้ผลิตกาแฟอยู่มากถึง 75,000 รายด้วยกัน หากเราจะรวมพื้นที่ปลูกอาราบิก้าทั้งหมด จะมีมากถึง 85,000 เฮกตาร์ และโรบัสต้า 110,000 เฮกตาร์
มาถึงเรื่องของรสชาติที่โดดเด่น ของบรรดากาแฟสเปเชียลตี้ที่ถูกปลูก และถูกผลิตขึ้นในประเทศเอกวาดอร์ กาแฟของที่นี่มักจะโดดเด่นในเรื่องของความเป็นกรด ที่อยู่ในระดับปานกลาง ค่อนข้างที่จะมีบอดี้ มีความชุ่มฉ่ำ และเราอาจจะได้กลิ่นของซิตรัส แต่ถึงอย่างนั้นภาคส่วนสเปเชียลตี้ภายในประเทศ ก็ยังเป็นภาคส่วนที่เล็ก หากเทียบกับภาคส่วนกาแฟเชิงพาณิชย์ และการค้าสารกาแฟ นับว่าเทียบกันไม่ได้เลย พร้อมภาคส่วนนี้เป็นภาคส่วนที่ใหญ่กว่าเอามากๆ
ตลาดกาแฟสาร เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่ากาแฟจากเอกวาดอร์ถูกนำไปขายมากที่สุดโดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของภาคส่วนการค้าสารกาแฟภายในเอกวาดอร์เลยทีเดียว
การผลิต VS การนำเข้า
ตลอดประวัติศาสตร์กาแฟของประเทศเอกวาดอร์ ราคากาแฟที่ขายกันอยู่นั้น ไม่ได้มีความเป็นธรรมต่อเกษตรกรมากนัก ความสามารถในการทำกำไรของกาแฟค่อนข้างต่ำ พืชชนิดอื่น กลับถูกให้ความสนใจมากกว่า และในด้านของต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีอัตราการผลิตกาแฟลดลง เมื่อประมาณกว่า 10 ปีที่แล้ว ย้อนไปในช่วงปี 2012 ปริมาณการผลิตกาแฟของเอกวาดอร์สูงขึ้นอย่างมาก ตัวเลขในตอนนั้นอยู่ที่ 650,000 กระสอบ
ภาคส่วนธุรกิจนี้เลวร้ายลง อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจภายในเอกวาดอร์ ในช่วงต้นทศวรรษ2000 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจภายในเอกวาดอร์กับสหรัฐอเมริกาไม่สู้ดีนัก ค่าเงินดอลลาร์พุ่งสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น และค่าจ้างเพิ่มขึ้นด้วย แต่มันกลับไม่เป็นข้อดี ในแง่ของผู้ผลิตเท่าไหร่นัก เพราะมันทำให้ต้นทุนแรงงานในไร่กาแฟแพงขึ้น
สิ่งนี้ส่งผลอย่างไรกับกาแฟ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นนั่นหมายความว่า กาแฟเอกวาดอร์จะมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ค้าและผู้คั่วกาแฟ ที่ต้องการจัดซื้อกาแฟ อันนี้เราพูดถึงกาแฟภายในประเทศ บวกกับแหล่งกำเนิดกาแฟที่ไม่ชัดเจน ทำให้กาแฟของที่นี่หาความโดดเด่นไม่ได้มากนัก ด้วยเหตุเหล่านี้เอง ผู้ผลิตกาแฟของเอกวาดอร์หลายราย จึงพยายามที่จะดิ้นรนและแข่งขัน เพื่อให้เข้าไปสู่ตลาดต่างประเทศได้
และนี่ก็คือจุดเริ่มต้น ที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนกาแฟของเอกวาดอร์ รวมถึงผู้ผลิตกาแฟภายในประเทศ เริ่มนำเข้าสารกาแฟ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอุปทานที่เกิดขึ้นนี้
การที่เงินดอลลาร์พุ่งสูงขึ้นนี้ แทนที่จะเป็นผลดีภายในประเทศ มันกลับส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมกาแฟของประเทศมากกว่า มันไม่เหมือนกับประเทศผู้ผลิตกาแฟอื่นๆ ในแถบละตินอเมริกา การที่เงินดอลลาร์พุ่งขึ้นภายในเอกวาดอร์ ทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากในภาคส่วนกาแฟ ก็เช่นพวกค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวเป็นต้น
และด้วยเหตุเหล่านี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้ผลิตหลายรายจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพอย่างมาก เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปัจจัยหลักหลายที่ว่ามานี้
และสิ่งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาเดียว ที่เกิดขึ้นในภาคส่วนการผลิตกาแฟของเอกวาดอร์ ยังมีเรื่องของช่องว่างระหว่างวัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศ และผู้ผลิตกาแฟหลายแห่งทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหาที่ว่านี้ก็คือ อายุเฉลี่ยของผู้ผลิตกาแฟ จะอยู่ที่ราวๆ 60 ปี คนรุ่นใหม่ก็พยายามที่จะก้าวเข้ามา และกระโดดเข้ามาเป็นผู้ผลิตกาแฟ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ชาวเอกวาดอร์รุ่นใหม่จำนวนมาก จึงเลือกที่จะออกจากภาคส่วนและอุตสาหกรรมกาแฟโดยสิ้นเชิง และไปหาทำสิ่งอื่นที่ทำกำไร และสร้างเม็ดเงินให้พวกเขาได้มากกว่า หรือหากมากกว่านั้น ก็เดินทางออกจากประเทศ เพื่อไปทำงานในต่างประเทศเลยก็มีอยู่มากเหมือนกัน และสิ่งที่ตามมาต่อก็คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ ก็จะมีน้อยลงและหายากมากยิ่งขึ้นภายในเอกวาดอร์

หากลองมาเทียบกันแล้ว ค่าใช้จ่ายในการนำข้าวสารกาแฟ เรียกได้ว่าค่อนข้างต่ำกว่าการที่ปลูกกาแฟ และผลิตกาแฟเองภายในประเทศเอกวาดอร์อย่างมาก ค่าใช้จ่ายที่ว่านอกจากเรื่องเงินแล้ว ยังมีในเรื่องของทรัพยากรความรู้ และเรื่องยิบย่อยอีกมากมายที่จำเป็นที่จะต้องกังวลและให้ความสนใจ
และท้ายที่สุด ด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในเอกวาดอร์เหล่านี้ ทำให้เรื่องของการนำเข้าและการส่งออกสารกาแฟ นอกจากว่าจะกลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ยังกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างไม่น่าเชื่อเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
รูปแบบธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดภายในประเทศ คือรูปแบบธุรกิจการแปรรูปกาแฟสาร ให้กลายมาเป็นกาแฟสำเร็จรูป และเหตุใดสิ่งนี้จึงได้รับความนิยมในประเทศเอกวาดอร์ วิธีการคืออย่างไร เราจะพาคุณไปดูกันต่อ
การรีแบรนด์กาแฟนำเข้า
การนำเข้ากาแฟส่วนใหญ่ของเอกวาดอร์นั้น แทบจะทั้งหมดจะถูกนำมาแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่น้ำไว้ชงดื่ม และส่งออกไปยังประเทศผู้บริโภครายใหญ่ทั่วโลก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ในปี 2007 ประเทศเอกวาดอร์มีกฎหมายที่เรียกว่า Regiment 21 ซึ่งเป็นเหมือนใบอนุญาต ให้สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ดิบ สำหรับเพื่อใช้ในการแปรรูปจากต่างประเทศได้เป็นการชั่วคราว สำหรับในอุตสาหกรรมกาแฟ นั่นหมายความว่าบรรดาบริษัทต่างๆ สามารถที่จะนำข้าวสารกาแฟจากประเทศอื่นได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ยกตัวอย่างเช่นกาแฟสำเร็จรูป แล้วจึงส่งออกไปสู่ประเทศนอก
นอกจากการนำเข้ากาแฟจะถูกกว่าการปลูกเองแล้ว กระบวนการที่ว่านี้ยังมีประสิทธิภาพอย่างไม่น่าเชื่อ และยังมีความต้องการกาแฟจากเอกวาดอร์จากต่างประเทศมากมาย ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่าทำไมกาแฟจากเอกวาดอร์จึงได้รับความนิยม
จะว่าไปแล้วหากเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น อุตสาหกรรมกาแฟนับว่าแทบจะเป็นอุตสาหกรรมเดียว ที่นำกฎหมาย Regiment 21 เขามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด สิ่งนี้ทำให้อุตสาหกรรมกาแฟ มีการแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งในเรื่องของการจัดการภาษี ยังประหยัดภาษีได้มากขึ้นเมื่อทำการนำเข้าสารกาแฟ
สิ่งเหล่านี้ทำให้ตลาดกาแฟของเอกวาดอร์เติบโต บริษัทกาแฟในประเทศเอกวาดอร์ สามารถที่จะดึงดูดลูกค้า โดยการนำเข้ากาแฟคุณภาพต่ำจากประเทศอื่นในแถบละตินอเมริกา โดยการนำกาแฟเหล่านี้มาแปรรูปและทำการส่งออกไปใหม่
สิ่งนี้เองหากให้เปรียบเทียบดู เปรียบเสมือนการรีแบรนด์ มากกว่าการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยการเปลี่ยนรูปของเมล็ดกาแฟ ที่นำเข้าจากแหล่งอื่น ให้กลายเป็นกาแฟสำเร็จรูปนั่นเอง
การรีแบรนด์เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญ เนื่องด้วยกฎหมาย Regiment 21 อนุญาตให้ผู้ผลิต ที่นำเข้ากาแฟมาจากแหล่งอื่น สามารถที่จะส่งออก และยังคงระบุได้ว่ากาแฟเหล้านี้เป็นกาแฟเอกวาดอร์ได้ โดยมีเงื่อนไขบางประการที่ว่า จะต้องมีการโปรเซสกาแฟเกิดขึ้นภายในประเทศ
ดังนั้นกาแฟเอกวาดอร์เอง โดยเนื้อแท้ หรือโดยแหล่งกำเนิดจริงๆ เป็นกาแฟที่มาจากหลากหลายประเทศเช่น ประเทศเวียดนาม บราซิล และโคลอมเบียเป็นต้น ในทางกลับกัน กาแฟเหล่านี้จะได้รับการแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป และส่งออกไปใหม่ ซึ่งเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่มีตราสินค้า ว่ามาจากประเทศเอกวาดอร์ และทำการส่งออกไปยังเวียดนาม บราซิล และโคลอมเบีย เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น
แม้ว่าสิ่งที่ว่ามานี้ ดูเหมือนเป็นโอกาสที่ดีสำหรับบรรดาบริษัทกาแฟภายในประเทศ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกาแฟภายในอีกว่าดเอง ก็ชี้ให้เห็นถึงข้อเสียบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ประการแรก มันจะทำให้ผลผลิต หรือการผลิตกาแฟ ภายในประเทศเอกวาดอร์นั้นลดลง
ก็จริงอยู่ที่มีผู้ผลิตกาแฟมากมายได้เปรียบ แต่ก็ยังมีผู้ผลิตกาแฟบางรายเหมือนกันที่เสียเปรียบเอามากๆ โดยเฉพาะผู้ที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตกาแฟคุณภาพสูง และผลักดันให้เป็นกาแฟสเปเชียลตี้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีประเด็นในด้านของชื่อเสียงของเอกวาดอร์ ในฐานะประเทศผู้ผลิตกาแฟด้วย แม้ว่าปริมาณการผลิตของประเทศจะลดลง ตั้งแต่ตอนที่ค่าเงินดอลลาร์พุ่งสูงขึ้นในช่วงปี 2000 แต่ก็ยังมีขอบเขต ที่สามารถที่จะทำให้ภาคส่วนนี้ฟื้นตัวได้ในอนาคต
และก็ยังมีอีกประการหนึ่ง คือเมื่อส่งออกกาแฟ ที่ติดฉลากว่าเป็นกาแฟเอกวาดอร์ เป็นกาแฟสำเร็จรูปคุณภาพต่ำเหล่านี้ มันอาจส่งผล ให้คนมองกาแฟจากเอกวาดอร์เป็นเชิงลบ ว่ากาแฟจากที่นี่อาจจะเป็นกาแฟคุณภาพต่ำ และแน่นอนว่ามันเป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตกาแฟภายในประเทศในอนาคต

ประเทศผู้ผลิตกาแฟหลายประเทศทั่วโลก มีการนำเข้าส่งออก และแลกเปลี่ยนสารกาแฟเหล่านี้ด้วยเหตุผลบางประการ แต่ในกรณีของประเทศเอกวาดอร์ เรียกได้ว่าอาจจะต้องขอบคุณตลาดขนาดใหญ่ ของกาแฟสำเร็จรูป และกฎหมายที่เรียกว่า Regiment 21 ซึ่งค่อนข้างจะเอื้อประโยชน์แก่บริษัทกาแฟรายใหญ่มากเลยทีเดียว
สำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ภายในประเทศเอกวาดอร์นั้น ผู้ผลิตจะต้องประสบปัญหา ไม่สามารถที่จะทำกำไรได้มากเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากต้นทุนการผลิตกาแฟที่สูงขึ้น การพยายามมองหาแหล่งรายได้ใหม่ ที่เป็นแหล่งอื่นอาจดูเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกว่า การแปรรูปสารกาแฟ ให้กลายมาเป็นกาแฟสำเร็จรูป อาจจะดูเหมือนเป็นทางออกที่น่าสนใจในปัจจุบัน แต่หากมองในภาพรวม หรือมองในระยะยาวนั้น สิ่งเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมกาแฟในวงกว้างของประเทศ กาแฟจากเอกวาดอร์จะมีชื่อเสียงในด้านไหนต่อไป เราก็คงต้องรอดูกันต่อ