ประวัติศาสตร์ กาแฟฮอนดูรัส

ประเทศฮอนดูรัสนั้น เป็นอีกหนึ่งประเทศผู้ผลิต กาแฟฮอนดูรัส ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจัดเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟได้เป็นอันดับ 5 ของโลก นอกจากจะเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดในอเมริกากลางแล้ว ยังเป็นรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ในละตินอเมริกาอีกด้วย

ประเทศฮอนดูรัสนี้ เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมกาแฟที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีประชากรผู้ผลิตกาแฟราย ย่อยมากด้วย ในปัจจุบัน ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้มีความมั่งคั่งทางกาแฟเป็นอย่างมาก จนเราเกือบลืมไปแล้วว่า เมื่อประมาณ 2-3 ทศวรรษก่อน ยังไม่เคยมีการผลิตกาแฟขึ้นในฮอนดูรัส และต่อไปนี้คือเรื่องราวที่ทำให้ประเทศแห่งนี้ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดในโลก เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ ประวัติศาสตร์ กาแฟฮอนดูรัส

Coffee in Honduras

ก่อนจะเปลี่ยนเป็นกาแฟ

แต่เดิมแล้ว ประเทศฮอนดูรัสมีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกกล้วย โดยกล้วยเป็นผลผลิตที่มีสัดส่วนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกทั้งหมดในปี 1929 ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ทางภาษี ที่ดิน และการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมกล้วยของฮอนดูรัสเป็นอย่างมาก แต่หลังจากในช่วงยุค 50 อัตราการผลิตกล้วยก็เริ่มลดลง เนื่องจากปัจจัยบางอย่าง อัตราการลดลงของการปลูกกล้วยและการส่งออกนี้ ดำเนินต่อไปจนถึงยุค 60 ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตกาแฟเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง

ในขณะที่ผู้ค้าได้นำกาแฟเข้าสู่ประเทศฮอนดูรัสเป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งในช่วงแรกนี้กาแฟได้ถูกปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยไม่กี่ราย เกษตรกรส่วนใหญ่เหล่านี้จะปลูกกันในเมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงซึ่งเป็นพื้นที่หุบเขา ในพื้นที่เหล่านี้ ปัจจัยหลายอย่างส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกาแฟค่อนข้างดี ในตอนนั้นการปลูกกาแฟได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และอีกหลายภาคส่วน

ไม่นาน ก็มีการสนับสนุนเพิ่มเติมจากประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้ทำให้อุตสาหกรรมกาแฟของประเทศฮอนดูรัสได้พัฒนาต่อไป โดยได้ทำการช่วยเหลือเกษตรกรในการขยายการผลิต และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีข้อตกลงกาแฟระหว่างประเทศถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 60 โดยข้อตกลงนี้ จะให้ความช่วยเหลือประเทศที่มีความเปราะบางอย่างประเทศฮอนดูรัสในการผลิตกาแฟ และผลักดันสามารถทำกำไรได้

การพัฒนาในภาคกาแฟ

ในช่วงยุค 70 รัฐบาลฮอนดูรัสได้ทำการก่อตั้ง สถาบันกาแฟฮอนดูรัส หรือ Honduran Coffee Institute หรือ Instituto Hondureño del Café (IHCAFE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการผลิตกาแฟท้องถิ่น ส่งเสริมการปรับปรุงทางเทคนิค โดยเครดิตทั้งหมดยกให้เกษตรกร

ในช่วงยุค 80 และ 90 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อส่งเสริมการผลิตกาแฟภายในประเทศฮอนดูรัส ซึ่งรวมถึงกฎหมายคุ้มครองวิสาหกิจกาแฟ และกฎหมายปรับปรุงการเกษตร กฎหมายคุ้มครองวิสาหกิจนั้น จะสนับสนุนให้เจ้าของที่ดินได้ขยายการผลิตกาแฟ อีกทั้งรัฐบาลยังได้ให้เงินสนับสนุนแก่เทศบาลท้องถิ่นที่ผลิตกาแฟ เพื่อทำการทำนุบำรุงพื้นที่ชุมชน อย่างการสร้างถนน และการเพิ่มกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กฎหมายการปรับปรุงการเกษตรนั้น ทำให้สมาชิกสหกรณ์สามารถที่จะแบ่งการถือครองที่ดินได้ โดยจะทำการแบ่งไปแต่ละครอบครัวอย่างทั่วถึง

กฎหมายที่ออกมาเหล่านี้ นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้ในช่วงระหว่างปี 1970-1996 ได้มีการผลิตกาแฟในประเทศฮอนดูรัสเพิ่มขึ้น 200 เปอร์เซ็นต์ กาแฟได้กลายเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ แซงหน้ากล้วยที่เคยเป็นผู้นำในการส่งออก และฮอนดูรัสก็ได้กลายเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อันดับ 9 ของโลก

PANACAM National Park in Honduras

อุปสรรคที่เกิดขึ้น

ในขณะที่อุตสาหกรรมกาแฟในประเทศฮอนดูรัสกำลังเฟื่องฟู ก็ได้เกิดปัญหาร้ายแรงครั้งสำคัญอยู่ 2 อย่างในช่วงยุค 90 ปัญหาแรกคือพายุเฮอริเคน Mitch ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 1998 ทำลายพืชผลกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ทำให้เกิดการสูญเสียคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของGDP

อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ วิกฤตราคากาแฟ ระหว่างประเทศในช่วงปี 1999 กาแฟล้นตลาด ส่งผลให้ราคากาแฟตกต่ำ ด้วยวิกฤตราคากาแฟนี้ ส่งผลให้มีการอพยพไปยังสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตกาแฟในฮอนดูรัสหลายรายเลือกที่จะจากบ้าน และละทิ้งการเพาะปลูกกาแฟของตนเองไปเลย

ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เอง เป็นการกดดันรัฐบาลให้ย้ายโครงสร้าง และบริการการสนับสนุนอุตสาหกรรมกาแฟ ซึ่งจากเดิมถูกควบคุมโดยรัฐ กลายเป็นควบคุมโดยเอกชน องค์กร IHCAFE ถูกปรับปรุง ดังนั้นจึงสามารถระดมทุนจากการเก็บภาษีเอกชนได้ ได้มีการอนุมัตินโยบายกาแฟแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของกาแฟ ผลผลิต แล้วความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ราคากาแฟนั้นดีขึ้น มีการจัดตั้งศูนย์กาแฟแห่งชาติขึ้น เพื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพของกาแฟก่อนที่จะทำการส่งออก

การมาถึงของกาแฟสเปเชียลตี้

นับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 อุตสาหกรรมกาแฟสเปเชียลตี้ของฮอนดูรัส ก็เริ่มมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศในแถบอเมริกากลางอื่น ๆ ด้วยการมีพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดินที่ดี น้ำที่เหมาะสมสำหรับผลิตกาแฟชนิดพิเศษเหล่านี้ อีกทั้งยังมีอีกหลากหลายภูมิภาค ที่สามารถผลิตกาแฟได้มากมาย

ในช่วงปี 2004 IHCAFE ได้ทำการว่าจ้าง Alliance for Coffee excellence เพื่อช่วยจัดหา และประมวลกาแฟในประเทศ ตลอดจนถึงการนำผู้เชี่ยวชาญ และผู้ซื้อจากต่างประเทศมายังประเทศฮอนดูรัส

กว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของกาแฟฮอนดูรัส เป็นกาแฟที่ได้รับการดูแลอย่างดี หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นกาแฟเกรดสเปเชียลตี้ หรือกาแฟเกรดพิเศษได้เลย มีสมาคมกาแฟสเปเชียลตี้มากกว่า 83 แห่งในประเทศ หากจะกล่าวถึงกาแฟสเปเชียลตี้ หรือกาแฟแบบพิเศษนี้ จะเหมารวมไปถึงกาแฟที่เป็นรูปแบบออร์แกนิก ไมโครล็อต หรือรูปแบบที่มีความพิเศษอื่น ๆ ในช่วงปี 2015-2016 ได้มีการบันทึกไว้ถึงการส่งออกกาแฟพิเศษเหล่านี้ อยู่ที่ 1,283 ล้านกระสอบ กระสอบละ 46 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 19 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกกาแฟทั้งหมด ในช่วงปี 2016 และ 2017 ได้มีการส่งออกกาแฟชนิดพิเศษเหล่านี้เพิ่มขึ้นเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า การส่งออกกาแฟชนิดพิเศษและแตกต่างนี้ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปีเดียว

ได้มีความพยายามขององค์กร IHCAFE เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะผลักดันกาแฟสเปเชียลตี้ในฮอนดูรัส โดยได้มีการจัดตั้งเขตการผลิตกาแฟขึ้น 6 เขต และได้จัดงาน Cup of Excellence (COE) ขึ้นครั้งแรกในปี 2004 ที่น่าสังเกตคือ กาแฟฮอนดูรัสทำได้ดีขึ้นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ จนกระทั่งในช่วงปี 2017 กาแฟของฮอนดูรัสได้ขึ้นมาเป็นกาแฟอันดับท็อป ด้วยคะแนน 91.81 และ 91.62 คะแนน โดยราคาต่อปอนด์อยู่ที่ 124.50 เหรียญสหรัฐ และ 122.90 เหรียญสหรัฐ ต่อมาในปี 2019 มีกาแฟ 6 ตัวจากฮอนดูรัสทำคะแนนได้มากกว่า 90 คะแนนในการแข่งขัน COE ด้วย

การผลิตกาแฟฮอนดูรัสในปัจจุบัน

กิจกรรมการผลิตกาแฟในฮอนดูรัสนั้น มีผู้ผลิตกาแฟอยู่ที่ประมาณ 12,000 ราย โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเป็นบรรดาเกษตรกรรายย่อยและชาวบ้าน ซึ่งได้ทำการสร้างงานให้กับประชากรฮอนดูรัสกว่า 1 ล้านคน ทั้งงานในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิต การโพรเซส และการขนส่งกาแฟ จากข้อมูลของ IHCAFE กาแฟได้กลายมาเป็นผลิตผลทางการเกษตรหลักของประเทศเพื่อทำการส่งออก โดยเพิ่มกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ในประเทศ และเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 30 เปอร์​เซ็นต์ของ GDP ทางการเกษตร

หลายประเทศผู้ผลิตกาแฟมักจะประสบปัญหา ผู้ผลิตกาแฟส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือคนที่ค่อนข้างมีอายุแล้ว ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศผู้ผลิตกาแฟ คือจะไม่มีคนมาสานต่อไร่กาแฟในครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ใหญ่มาก แต่ในฮอนดูรัสนั้นแตกต่างออกไป อายุเฉลี่ยของผู้ผลิตกาแฟค่อย ๆ ลดลง และปัจจุบันผู้ผลิตกาแฟในประเทศนี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 46 ปี ซึ่งเป็นอายุที่น้อยกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วถึง 10 ปีเลยทีเดียว เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ปลูกกาแฟในไร่เล็ก ๆ และมีความเป็นอิสระสูง โดยประชากรฮอนดูรัสจะมีงานทำมากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงฤดูกบเกี่ยวและการโพรเซสกาแฟ

Bourbon Coffee

การที่ทำให้ภาพกาแฟในฮอนดูรัสเติบโตมาได้มากขนาดนี้ ก็ด้วยเหตุผลมากมายหลากหลายประการด้วยกัน ทั้งเรื่องของความกระตือรือร้นของบรรดาเกษตรกรและผู้ผลิต การที่รวมตัวกันเป็นองค์กร และการสนับสนุนโครงการของผู้ปลูกกาแฟแต่ละราย รวมถึงการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรมาใช้ในภาคกาแฟด้วย

แต่เดิมประเทศเล็ก ๆ นี้ไม่ได้มีความสละสำคัญอะไร แต่ในปัจจุบันก็ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก และจะเป็นเช่นนั้นไปเรื่อย ๆ นอกเหนือจากการผลิตกาแฟเพื่อใช้ในการส่งออกเกรดธรรมดาแล้ว กาแฟพิเศษ หรือสเปเชียลตี้ของที่นี่ก็มีคุณภาพยอดเยี่ยมเลย ไม่เหมือนใครด้วยเช่นกัน