รายได้ที่เกษตรกรได้รับจาก กาแฟ 1 แก้ว

ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ เป็นช่วงที่ราคา กาแฟ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน สัญญาณแรกที่ทำให้ราคากาแฟสูงขึ้น คือเรื่องของน้ำค้างแข็งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิภาคการผลิตกาแฟในประเทศที่ผลิตกาแฟรายใหญ่อย่างประเทศบราซิล ในช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม 2021 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ราคา กาแฟ ก็ยังคงดีดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าเราจะได้ดื่มกาแฟในราคาที่แพงขึ้น แต่เกษตรกรรายย่อยบางราย ก็ยังคงไม่ได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มเกษตรกรกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เปราะบาง แต่เราในฐานะผู้บริโภคกาแฟ ยังคงไม่ได้รับผลกระทบมากมายนัก ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า จะเป็นบรรดาโรงคั่วกาแฟและร้านกาแฟ ที่จะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น แต่อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คาดว่าค่า กาแฟ ที่แพงขึ้นนี้ จะมาถึงผู้บริโภคอย่างแน่นอน

เรื่องสำคัญที่เราจะมาชวนคุยกันในวันนี้ คือในเมื่อราคาของกาแฟพุ่งสูงขึ้น แต่เกษตรกรผู้ปลูก และดูแลกาแฟ ได้รับรายได้จากกาแฟเหล่านี้เท่าไหร่ การที่ราคากาแฟสูงขึ้น เกษตรกรได้รายได้มากขึ้นตามหรือไม่ ก่อนอื่นที่จะไปดูกันขอชี้แจงตรงนี้ก่อน เนื่องจากข้อมูลที่ใช้อ้างอิง เป็นข้อมูลกลางที่ได้จากต่างประเทศ ดังนั้นตัวเลข จึงขอคิดเป็นหน่วยเหรียญสหรัฐ ไม่ใช่ราคาอ้างอิงของในบ้านเราแต่อย่างใด

Biodynamic Coffee Farm

ทำความเข้าใจในเรื่องของ ความเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร

ในบรรดาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตกาแฟทั้งหมด เกษตรกร โดยเฉพาะบรรดาเกษตรกรรายย่อย เป็นกลุ่มคนที่นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากที่สุด เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นมันค่อนข้างซับซ้อน หากเราจะเล่า เราจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปในเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมกาแฟ ในจุดที่เราผลิตกาแฟเป็นจำนวนมากครั้งแรก ซึ่งในตอนนั้น ในกระบวนการผลิตกาแฟส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจอาณานิคมชาวยุโรป ซึ่งเมื่อขายกาแฟได้ รายได้ก็จะเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะไม่มีประเทศอาณานิคมเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังคงทิ้งร่องรอยบางอย่างไว้ในอุตสาหกรรมกาแฟจนถึงปัจจุบัน และมันไม่เคยจางหายไปเลย

ในช่วงปี 1700 และ 1800 ที่ดินส่วนใหญ่ที่ใช้สำหรับการปลูกกาแฟนั้น ไม่ได้เป็นของผู้ที่ปลูกกาแฟ แต่เป็นของเจ้าของที่ดิน โดยเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟก็เป็นแรงงาน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตกาแฟเหล่านี้ให้กับเจ้าของที่ดินนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง จุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมกาแฟ จึงเริ่มต้นด้วยการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรแต่แรก

หลังจากมีนโยบายการคืนที่ดินให้กับเกษตรกรพื้นเมืองแล้ว เนื่องจากเกษตรกรหลายรายมีพื้นที่ขนาดเล็ก จึงไม่ได้ถูกรับอนุญาตให้ดำเนินการในการปลูกกาแฟ อีกทั้งการได้รับสนับสนุนทางการเงิน หรือโครงสร้างพื้นฐานในการปลูกกาแฟเพียงเล็กน้อย ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายในการใช้ดำเนินการ ท้ายที่สุดแล้ว ชาวบ้านตัวเล็กเหล่านี้จึงทำการขายที่ดินให้กับบริษัทข้ามชาติ เพื่อให้สามารถนำเงินนั้นมาโปะหนี้สินที่เกิดขึ้น หรือนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

เราสามารถที่จะกล่าวได้เลยว่า มรดกของลัทธิล่าอาณานิคมนี้ เป็นตัวกำหนดเงื่อนไขการค้าในอุตสาหกรรมกาแฟในปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟต้องการการสนับสนุน ข้อมูลความรู้ และการเพิ่มขีดความสามารถที่มากขึ้น เพื่อให้มีอัตราต่อรองในตลาดมากขึ้น ตลาดก็สมควรที่จะเปิดกว้าง และแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน

ต้นทุนการผลิตกาแฟ

ก่อนที่เราจะไปคุยกันว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้รับเงินเท่าไหร่ เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักคำว่า Farmgate และคำว่า Freight on Board หรือ FOB กันก่อน

Farmgate

โดยพื้นฐานแล้ว Farmgate price จะหมายถึงเงินที่เกษตรกรได้รับโดยตรง โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านโรงสี หรือผู้ค้าอีกที คำคำนี้มาจาก การที่ผู้ผลิต จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่ farm gate ก่อนที่จะทำการหักค่าธรรมเนียมการส่งออก หรือหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญที่เราจำเป็นจะต้องสังเกตคือ Farmgate price จะแตกต่างจาก C price (คือ ราคาซื้อขายของอาราบิก้า ในการแลกเปลี่ยนระหว่างทวีป) C price จะถูกกำหนดโดยความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ที่กาแฟขาดตลาด ราคาของกาแฟก็จะเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา

ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคธรรมดานั้น การที่จะรู้ราคา Farmgate price เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากราคาการซื้อขายเหล่านี้มักจะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ เว้นแต่ผู้ค้าและโรงคั่วกาแฟจัดเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเอง

FOB

FOB price คือราคาสุทธิทั้งหมด สำหรับกาแฟในตู้คอนเทนเนอร์พร้อมส่ง ราคานี้จะเป็นราคาที่ผู้ค้าจะมอบให้กับเกษตรกร บวกกับค่าใช้จ่ายในการผลิตกาแฟเหล่านั้น และค่าอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างพวกค่าโรงสี คลังสินค้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีศุลกากร และค่าธรรมเนียมคนกลาง แต่ค่าใช้จ่ายหลัก ที่จะเกิดขึ้นแน่นอน ในค่า FOB price มีดังนี้

ค่าขนส่ง

ในขณะที่โรงคั่วกาแฟบางโรงนำเข้ากาแฟเองโดยตรง ซึ่งบรรดาโรงคั่วกาแฟเหล่านี้ ก็จำเป็นที่จะต้องนำเข้าเมล็ดกาแฟกับผู้ค้า เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ค้าบางรายหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นต้นทุนในการขนส่งกาแฟก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นั่นหมายความว่า เปอร์เซ็นต์และส่วนแบ่งที่เกษตรกรควรจะได้ ก็จะลดลงไปอีก

นอกเหนือจากเรื่องของส่วนต่างผู้ค้า ค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าขนส่ง และค่าจิปาถะที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ทั้งหมดจะรวมอยู่ใน FOB price แล้ว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ แต่ถึงจะมีความแตกต่างอยู่ ราคาเหล่านี้ก็มีนัยยะสำคัญบางอย่าง

ยกตัวอย่างเช่น ในการขนย้ายกาแฟจากไร่กาแฟไปยังสหกรณ์ท้องถิ่น การขนส่งด้วยรถบรรทุกเพียงอย่างเดียว มีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 2 เหรียญสหรัฐต่อเชอรี่หนึ่งกระสอบ (60 กิโลกรัม) แต่หากว่าผลเชอร์รี่เหล่านี้ผ่านกระบวนการ post-harvest เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่าขนส่งภายในประเทศอาจจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 เหรียญสหรัฐต่อกระสอบเลยทีเดียว ซึ่งนี่เองคือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนอย่างมีนัยยะสำคัญ

Kenya Coffee Beans

ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ

โดยปกติแล้ว ในฤดูกาลปลูกครั้งใหม่ เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องลงทุนใหม่อีกรอบ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากมาย ตั้งแต่ในเรื่องของการหาต้นกล้าไหม การดำเนินการซ่อมแซม และการบำรุงรักษาต้นไม้ตามฤดูกาลเป็นประจำ หรือแม้แต่การหาซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อทำการรักษาหรือปรับปรุงผลผลิต และต้องปรับปรุงคุณภาพด้วย

จากค่า FOB ทั้งหมด เกษตรกรจะได้เพียงแค่ 60 เปอร์เซ็นต์เพียงเท่านั้น ในขณะที่อีก 40 เปอร์เซ็นต์ที่ จะเป็นแค่ดำเนินการ และค่าใช้จ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายในประเทศ ตลอดจนเป็นค่าธรรมเนียมของคนกลาง และค่าธรรมเนียมในการส่งออกด้วย

ค่าใช้จ่ายในประเทศที่ว่า เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องให้กับแรงงานในส่วนอื่น ที่ทำงานในกระบวนการผลิตกาแฟ อย่างคนเก็บกาแฟ และคนงานในโรงสีกาแฟ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรแล้วในท้ายที่สุด ถึงแม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะจ่ายค่ากาแฟอยู่ที่ประมาณ 12-18 เหรียญสหรัฐต่อราคากาแฟสเปเชียลตี้ขายปลีก 1 ถุง หรือการจ่ายเงินระหว่าง 4-7 เหรียญสหรัฐ ติดต่อกาแฟฟิลเตอร์แบบซิงเกิ้ล 1 แก้ว ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่เราจะมาคิดคำนวณได้ว่า สุดท้ายแล้วเกษตรกรจะได้รับเงินในส่วนนี้เท่าไหร่

การที่จะมานั่งคำนวณเปอร์เซ็นต์ ว่าใครจะได้รับเงินเท่าไหร่นั้น สุดท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับความโปร่งใส การที่จะสามารถคำนวณออกมาได้อย่างแน่นอนว่า ใครควรได้ส่วนแบ่งในกาแฟเหล่านี้เท่าไหร่ จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงเรื่องของคุณภาพของกาแฟด้วย มีอยู่มากเลยทีเดียว ที่บรรดาเกษตรกร ไม่ได้รับรู้ถึงคุณภาพของกาแฟที่พวกเขาปลูก บางทีกาแฟมีคุณภาพสูง แต่ด้วยความไม่รู้ และไม่มีข้อมูลได้เลย เกษตรกรจึงได้รับเงินตามแค่ราคาตลาด C price เพียงเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างต่ำและไม่เป็นธรรม

ในทางกลับกัน หากเกษตรกรคิดว่ากาแฟของพวกเขามีคุณภาพต่ำ แต่คะแนนคัปปิ้งของกาแฟนั้นกลับสูง และผู้บริโภคชอบ ผู้ที่สามารถขายกาแฟได้ในราคาสูง ก็จะเป็นผู้ค้า และในส่วนปลายทางอื่น สุดท้ายแล้วเกษตรกรก็ไม่ได้เงินที่สมควรจะได้อยู่ดี

ต้นทุนกาแฟสำหรับโรงคั่วและร้านกาแฟ

เพื่อที่จะทำความเข้าใจ เพราะว่าท้ายที่สุดแล้ว ต่อกาแฟ 1 แก้วนั้น เกษตรกรจะได้รับเงินมากน้อยเพียงใด เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับต้นทุน ที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในกาแฟแต่ละถุง หรือกาแฟแต่ละถ้วย นั่นคือต้องพิจารณาเกี่ยวกับต้นทุนสำหรับโรงคั่วกาแฟเป็นสำคัญ

มูลค่าของกาแฟจะเพิ่มขึ้น เมื่อกาแฟเป็นที่ต้องการในประเทศมากขึ้น ถูกนำมาวางขาย และถูกขายออกมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่า กาแฟที่นำมาใช้จะขายออก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูความต้องการของตลาด และผู้บริโภค นอกจากนี้ การดูในเรื่องของความต้องการของผู้บริโภค ยังเป็นจุดที่ต้องคำนึงเมื่อเราคิดถึงราคาที่เราจะขายสุดท้าย

หากที่ปัจจุบัน กับราคากาแฟขายปลีกเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว นับว่าราคากาแฟในปัจจุบันมีราคาขึ้นสูงกว่ามาก มีดัชนีราคาขายปลีกกาแฟพิเศษ (Specialty Coffee Retail Price Index (SCRPI)) ที่สร้างขึ้นโดย Transparent Trade Coffee พบว่า โรสเตอร์ที่คั่วกาแฟแบบพิเศษ ในอเมริกาเหนือส่วนใหญ่แล้ว ขายเมล็ดกาแฟคั่ว 1 ปอนด์ในราคาอยู่ที่เราหว่าง 18.28-38.99 เหรียญสหรัฐ แต่ราคาขายที่กล่าวมานี้ เป็นราคาที่รวมต้นทุนที่โรสเตอร์ใช้ด้วย ต้นทุนที่ว่าก็จะเป็นบรรจุภัณฑ์ และค่าแรงที่ต้องบวกเพิ่มขึ้นไปประมาณ 4 เหรียญสหรัฐต่อปอนด์จากราคาขายปลีก

นอกจากนี้เรายังต้องจำไว้ด้วยว่า เมื่อเราทำการคั่วเมล็ดกาแฟเรียบร้อยแล้ว เมล็ดกาแฟจะสูญเสียมวลไปอีกประมาณ 14.7 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็หมายความว่า สารกาแฟปริมาณ 1 ปอนด์ (ประมาณ 0.45 กิโลกรัม) เมื่อทำการคั่วเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะได้กาแฟที่กลัวเสร็จอยู่ที่ประมาณ 0.85 ปอนด์ (ประมาณ 0.39 กิโลกรัม) เพื่อสำหรับใช้ในการขาย ดังนั้นหากเรามีสารกาแฟอยู่ที่ 1 กระสอบ ประมาณ 60 กิโลกรัม นั่นไม่ได้หมายความว่า เราจะได้กาแฟคั่วแล้ว 60 กิโลกรัมด้วย

การคำนวณราคากาแฟต่อแก้ว

โดยปกติแล้ว ในการคิดราคาของกาแฟหนึ่งแก้ว ที่วางขายอยู่ในร้านกาแฟทั่วไปนั้น ให้คิดตามปริมาณน้ำหนักของกาแฟ โดยมีข้อแนะนำ จากสมาคมกาแฟพิเศษ SCA โดยให้คิดจากอัตราส่วนการชงมาตรฐาน ซึ่งอยู่ที่ตัวเลข 1:18 (ถึงโดยปกติแล้วเราจะไม่ใช้สูงขนาดนั้นก็ตาม)

ในการเตรียมกาแฟฟิลเตอร์ 16 ออนซ์ (473 มิลลิลิตร) จำเป็นที่จะต้องใช้กาแฟบดอยู่ที่ประมาณ 25 กรัม นั่นหมายความว่า กาแฟคั่ว 1 ปอนด์ สามารถที่จะชงกาแฟได้อยู่ที่ประมาณ 18 แก้ว และเมื่อเราลองมาพิจารณาดู ว่ากาแฟสเปเชียลตี้ส่วนใหญ่ โรงคั่วต่างขายกาแฟ ในราคา 1 ปอนด์อยู่ที่เราว่าง 18-39 เหรียญสหรัฐ นั่นทำให้ราคาของกาแฟ 1 แก้วจะอยู่ที่ประมาณ 1-2.20 เหรียญสหรัฐ

แต่อย่างไรก็ตาม ในบรรดาร้านกาแฟซักรีดซิตี้ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ราคาต่อกาแฟฟิลเตอร์ 1 แก้วจะอยู่ที่ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐ นั่นหมายความว่า ร้านกาแฟสามารถที่จะทำกำไรได้ตั้งแต่ 1.80-3 เหรียญสหรัฐต่อแก้วเลยทีเดียว อันนี้ยังไม่หักเรื่องของต้นทุนพนักงาน และเรื่องของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

คำถามต่อมาก็คือ การที่เรามาคำนวณราคากันนี้ เกษตรกรจะได้รับราคาต่อแก้วเท่าไหร่ ตามคู่มือผู้ส่งออกกาแฟของ International Trade Center ระบุว่า ทางผู้ผลิต ยังคงตรึงราคาของกาแฟขายปลีกไว้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หากเป็นตัวเลขที่เรายกกันมาข้างต้นจะเท่ากับว่า เกษตรกรจะได้เงินในราคาอยู่ที่ประมาณ 0.40 เหรียญสหรัฐต่อแก้ว

แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความกังวลเกี่ยวกับราคากาแฟที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลุ่มคนบางส่วนก็ยังมีความเชื่อว่า เราจ่ายค่ากาแฟต่อแก้วถูกเกินไปอยู่ดี เพื่อที่จะสามารถให้เกษตรกรได้รู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของกาแฟของพวกเขา นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจ

Storage of Coffee Grain

หากจะปรับปรุงราคา จะต้องทำอย่างไร

ในปัจจุบันนี้ ด้วยความต้องการกาแฟที่มีกระบวนการการผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น ต้องการที่จะให้ทุกภาคส่วนได้รับความเท่าเทียมกันในราคามากขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูด และกลายเป็นหัวข้อที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

หากเกษตรกรไม่ได้รับรายได้พอในการที่พวกเขาผลิตกาแฟออกมา แน่นอนว่าพวกเขาก็ไม่สามารถที่จะหารายได้เลี้ยงชีพได้ และหากผู้ผลิตไม่สามารถที่จะหารายได้เลี้ยงชีพได้ อนาคตของอุตสาหกรรมกาแฟก็อาจตกอยู่ในอันตราย ดังนั้นการที่เราจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ผลิต และเกษตรกรมีรายได้อย่างเท่าเทียมมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบแก้ไข และทำการปรับปรุงในเรื่องของราคาในห่วงโซ่นี้ แต่เราจะทำได้อย่างไร ที่จะสามารถกระจายมูลค่าในห่วงโซ่กาแฟ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำกำไรได้ด้วย แม้แต่เกษตรกรและผู้ผลิต

ส่วนสำคัญของสิ่งนี้ คือการสร้างความมั่นใจว่า เกษตรกรจะได้รับเงินอย่างเพียงพอที่จะดำรงชีพ ไม่เพียงแต่ดำรงธุรกิจของตนเองได้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การทำมาหากินเลี้ยงชีพด้วย และทางที่ดีที่สุด จะต้องมีเงินมากพอ ที่จะสามารถสนับสนุนครอบครัวและชุมชนได้

ผลการศึกษาวิจัยของ SCTG ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ชี้ให้เห็นว่า ในระหว่างการเก็บเกี่ยวของปี 2018/19 และ 2019/20 ในประเทศโคลอมเบีย กาแฟสเปเชียลตี้น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ได้คะแนนอยู่ที่เราว่าง 80-83.9 กาแฟเหล่านี้มีราคาการซื้อขายที่สูงกว่าค่าครองชีพของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเสียอีก

หากจะกล่าวถึงวิธีการในการแก้ปัญหา เป็นอะไรที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ท่านแรกที่จำเป็นจะต้องทำ คือการให้ความรู้อย่างเท่าเทียมกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ปัญหาใหญ่คือ เกษตรกรหลายที่ในโลก ไม่ได้รู้ถึงคุณภาพของกาแฟที่พวกเขาปลูก จึงอาจที่จะถูกซื้อในราคาที่ไม่เป็นธรรม เทคโนโลยีน่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดีย ซึ่งน่าจะเข้าถึงกันได้ง่ายที่สุด ในปัจจุบันเรามีข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาตลอด การที่ผู้ผลิต หรือเกษตรกรรู้ถึงคุณค่าของกาแฟของพวกเขา พวกเขาจะสามารถต่อรองราคาที่สมควรจะได้รับได้

ในกาแฟ 1 แก้วนั้น หากเราจะมาแบ่งสันปันส่วนราคาที่แต่ละฝ่าย ควรจะได้รับนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในจุดเปราะบางมากที่สุด คือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของความโปร่งใสในด้านราคา ผู้บริโภคอย่างเราสามารถที่จะเข้าถึงได้ค่อนข้างยาก ทำให้เรื่องนี้เป็นความท้าทายมาก และเป็นสิ่งที่น่าจับตาว่าจะทำอย่างไรกับปัญหานี้ในอนาคต

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทำการผลักดันให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้มากยิ่งขึ้น หรือการสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือการทำให้เกิดความยั่งยืนในกระบวนการผลิตมากขึ้นทั่วทั้งอุตสาหกรรม เป็นสัญญาณที่ดี นับว่าเป็นก้าวแรกของการเดินไปในทางที่ถูกต้อง เราในฐานะผู้บริโภคก็ได้แต่หวังว่า ก้าวเล็ก ๆ ก้าวนี้ จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกร ผู้ที่ดูแลและปลูกกาแฟให้เราได้ดื่มกัน ได้รับราคาที่ยุติธรรมสำหรับกาแฟได้ในระยะยาว