กาแฟศาสตร์ 101 ว่าด้วยเรื่องของ แมลงศัตรูพืช และโรคในกาแฟ

แมลงศัตรูพืช และ โรคในกาแฟ นั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำลายพืชผลกาแฟได้ การที่พืชผลกาแฟนั้นเกิดโรคและศัตรูพืชเหล่านี้ อาจจะทำให้ผู้ผลิตกาแฟนั้นเกิดความยากลำบากทางการเงินขึ้น ซึ่งจะทำให้พืชผลเสียหาย และนับว่าบรรดาศัตรูพืชและโรคภัยเหล่านี้ เป็นเหมือนภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตกาแฟเลยทีเดียว

และในวันนี้ เราจะพาคุณมารู้จักโรค และแมลงศัตรูพืชทั้งหลาย ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดศัตรูพืชเหล่านี้ และแนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้

Worm in Coffee Branch

อะไรเป็นสาเหตุของโรค และการดึงดูดศัตรูพืช

เช่นเดียวกับพืชผลหลายชนิด ต้นกาแฟนั้นมีความเสี่ยงต่อโรคและศัตรูพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะอาราบิก้า ที่มีความไวต่อโรคและศัตรูพืชเหล่านี้ค่อนข้างสูง มีรายงานในปี 2012 จากศูนย์วิจัยการเกษตรของฝรั่งเศส CIRAD มีการระบุเอาไว้ว่า ลูกในกาแฟส่วนใหญ่เหล่านี้ เกิดขึ้นจากเชื้อรา แต่ก็มักจะมีบางทีอาจเกิดขึ้นจากแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งมีอัตราที่ค่อนข้างน้อยกว่า

โรครากเน่า สนิมในใบ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดกาแฟนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับต้นไม้ที่มีสุขภาพดี ในขณะที่โรคอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นได้เฉพาะในต้นไม้ที่ค่อนข้างอ่อนแอเท่านั้น แต่ปัจจัยบางอย่าง ที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรเหล่านี้เสี่ยงต่อการถูกรบกวน หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน และเหล่านี้คือปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคและศัตรูพืชในกาแฟ

พันธุกรรม

กาแฟบางพันธุ์นั้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคและศัตรูพืชมากกว่ากาแฟพันธุ์อื่น ยกตัวอย่างเช่น Bourbon Pointu หรือกาแฟ Laurina กาแฟที่มีคาเฟอีนต่ำตามธรรมชาติ ซึ่งคาเฟอีนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันด้วย ดังนั้นจึงมีความอ่อนไหวต่อการเกิดสนิมของใบมากกว่ากาแฟพันธุ์อื่น

สภาพแวดล้อม

กาแฟนั้นมีการผลิตในหลายประเทศ และในทุกพื้นที่บนโลกนี้มีทั้งศัตรูพืชและเกิดโรค แต่ศัตรูพืชและโรคบางชนิด แตกต่างจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น ตัวมอดกาแฟนั้น แจกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ค่อนข้างชื้น

ดังนั้นแล้ว เมื่อเรานำอาราบิก้าไปปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความสูงที่ค่อนข้างต่ำ มีอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่น และมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ด้วย อาจจะทำให้กาแฟอาราบิก้านั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดมอดมากขึ้น แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นในฤดูที่แห้ง และไม่เอื้ออำนวยต่อมอดเหล่านี้ ก็อาจเป็นไปได้ที่มอดเหล่านี้จะซ่อนตัวอยู่ในผลเชอรี่ จนถึงฤดูฝนแรก และเมื่อพวกมันโผล่ออกมาที ก็มักจะโผล่ออกมาเป็นฝูง นั่นทำให้สร้างความเสียหายในวงกว้างมากเลยทีเดียว

และโรคบางชนิดนับว่าเป็นโรคที่เป็นกันทั่ว เป็นโรคระดับสากลที่ผู้ปลูกกาแฟทั่วโลกต้องเจอ อย่างโรคสนิมของใบกาแฟ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อกาแฟทั่วโลก และมีอยู่เทพจะในทุกประเทศที่ผลิตกาแฟ โดยโรคนี้อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น

การจัดการพืชผลทางการเกษตร

ความเข้าใจในด้านของเกษตรกรรมที่ดี จะสามารถสร้างความแตกต่างในไร่กาแฟได้ และยังสามารถที่จะควบคุมศัตรูพืชและโรคภัยเหล่านี้ได้ เกษตรกรนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้จักพืชผลของตัวเอง เพื่อให้สามารถยืดหยุ่น และแข่งขันในตลาดได้ ในทางกลับกันหากจัดการพืชได้ไม่ดี อาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผลผลิตและผลกำไรได้ในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น ต้นกาแฟที่เสียหาย อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา และหากนำไปผสมเกสร ก็จะได้ลูกที่มีโครงสร้างอ่อนแอโดยธรรมชาติ และแม้แต่การไม่ยอมทิ้งใบที่ร่วงหล่นบริเวณใต้ต้นไม้ ก็อาจที่จะเป็นปัญหาได้เหมือนกัน สิ่งนี้เพิ่มโอกาสในการเกิดเชื้อรา และเป็นที่ซ่อนชั้นดีของแมลงศัตรูพืช

เรื่องของเงินลงทุน

ผู้ผลิตที่มีเงินไม่เพียงพอที่จะลงทุนในไร่กาแฟของตนเอง แน่นอนว่าก็จะประสบปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชและโรคภัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วย หากเกษตรกรไม่สามารถที่จะซื้อปุ๋ย กล้าใหม่ หรือยาฆ่าแมลงได้ แน่นอนว่าอาจได้รับผลกระทบจากศัตรูพืชและโรคภัยมากขึ้น จะทำให้ผลผลิตต่ำ นั่นหมายความว่า อาจจะไม่มีทรัพยากร ที่จะลงทุนในพืชผลในปีหน้า และอาจเกิดปัญหาแบบลูกโซ่

Disease in Coffee

โรคในกาแฟ และศัตรูพืชที่เราควรรู้จัก

หากจะกล่าวถึงศัตรูพืช และโรคในกาแฟนั้น เหล่านี้มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายร้อยชนิด ที่อาจส่งผลต่อต้นกาแฟของเรา แต่มีบางโรคหรือแมลงศัตรูพืชบางชนิด ที่อาจมีมากกว่าชนิดอื่น จากรายงานของ Ribeyre ระบุว่า มีแมลงมากกว่า 900 สายพันธุ์ ที่เป็นแมลงศัตรูพืช (ทั้งนี้จะรวมถึงบรรดาปรสิตขนาดเล็กมาก หอยแมลงภู่ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอืดด้วย) และโรคจำนวนมากที่โจมตีพืชผลกาแฟของเรา

แต่โรคภัยและแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ ส่วนมากแล้วจะจำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น และจะจำกัดอยู่ในทวีปเดียว มีเพียงแค่ศัตรูพืชไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่แพร่หลายไปยังทั่วเขตร้อนไม่ว่าจะในทวีปไหนก็ตาม นอกจากนี้ อาจมีความเป็นไปได้ที่ศัตรูพืชเหล่านี้ จะแพร่กระจายผ่านทางกระบวนการขนส่งกาแฟ และเหล่านี้คือโรคและศัตรูพืชที่เป็นภัยต่อกาแฟ ที่เราควรจะรู้จัก

ศัตรูพืชของกาแฟทั่วไป

แมลงมักจะทำให้เมล็ดกาแฟอ่อนแอลง และกัดกินผลเชอร์รี่ให้เป็นโพรง ทำให้ความหนาแน่นน้อยลงด้วย นอกจากนี้ การที่แมลงเหล่านั้นกัดผลเชอร์รี่ ยังอาจทำให้ติดเชื้อโรค เชื้อรา หรือจุลินทรีย์บางอย่างดี การระบาดของแมลงไม่เพียงแต่จะลดผลผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อรสชาติของกาแฟ ทำให้คุณภาพ ทั้งเรื่องของรสและกลิ่นลดลง และต่อไปนี้คือศัตรูพืชบางชนิด ที่เราอาจพบได้ในไร่กาแฟ

มอดกาแฟ

มอดกาแฟจะมีลักษณะเหมือนด้วงสีดำตัวเล็ก ๆ มอดเหล่านี้มีอยู่ในเกือบจะทุกประเทศที่ผลิตกาแฟ ซึ่งพวกมันจะขุดเข้าไปในผลเชอร์รี่ของเมล็ดกาแฟ และใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากพวกมันเข้าไปอยู่ในผลเชอร์รี่ มอดเหล่านี้แพร่กระจายไปทั่วโลกจากแอฟริกา และอยู่คู่ไปกับกาแฟ จนถึงช่วงศตวรรษที่ 16 และนับเป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้กับกาแฟมากที่สุดตลอดประวัติศาสตร์

ในพืชผลที่ได้รับผลกระทบจากมอดกาแฟเหล่านี้ ผลผลิตจากลดลง เนื่องจากผลเชอร์รี่ที่โดนเจาะอาจจะร่วงหลุดก่อนเวลาอันควร ผลเชอร์รี่ที่อาจเก็บได้ ก็อาจจะมีน้ำหนักไม่ได้ตามที่ต้องการ ความเสียหายของมอดกาแฟเหล่านี้ ยังส่งผลต่อทั้งรสชาติและกลิ่นของกาแฟด้วย ซึ่งจะไปรถมูลค่าทางการค้าของพืชผล บางครั้งมันทำให้เกิดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ อย่างการเกิดรสขม หรืออาจเกิดกลิ่นหมักดองได้ ความเสียหายของมอดกาแฟ จะทำให้ในการคั่วกาแฟยากขึ้น และส่งผลต่อรสชาติมากขึ้นด้วย

แมลงวันหนอนชอนใบกาแฟ

แมลงวันหนอนชอนใบกาแฟนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ Leucoptera coffeella ซึ่งจะพบได้ทั่วไปในแถบละตินอเมริกา และ Leucoptera caffeina ซึ่งจะพบได้ทั่วไปในประเทศผู้ผลิตในแถบแอฟริกา

แมลงวันหนอนชอนใบกาแฟเหล่านี้ แน่นอนว่าส่งผลต่อใบของต้นกาแฟ พวกมันจะไปกินใบกาแฟ หากหนอนเหล่านี้ไปกรอกอยู่บนใบไม้ใบเดียวกัน อาจทำให้เกิดเนื้อร้ายขึ้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของโครงสร้าง เนื้อร้ายที่ว่าคือ การตายลงของเซลล์ จะมีลักษณะเป็นจุดน้ำสีเข้ม หรืออาจเป็นยอมกระดาษสีน้ำตาล

หากเป็นแบบนั้น จะไปส่งผลต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสงของพืช หากพืชไม่เกิดการสังเคราะห์แสง แน่นอนว่าพืชก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม ผลเชอร์รี่อาจจะไม่สุก และและผลผลิตโดยรวมก็จะต่ำกว่ามาตรฐาน หากเรานำเมล็ดกาแฟที่ไม่สุก หรือเมล็ดที่มีลักษณะเน่า มาทำเป็นเครื่องดื่ม เครื่องดื่มที่ได้ก็จะมีรสชาติขมและฝาดได้

เพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งนั้นเป็นแมลงที่จะคอยเกาะกินต้นไม้และพืชหลายชนิด ในกาแฟก็เช่นเดียวกั เพลียเหล่านี้จะเข้าไปโจมตีส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของโหนด ใบ ราก และกลุ่มดอกไม้ หากพวกมันไปกินยางไม้ของต้นกาแฟ มันจะทำการหลั่งสารเหนียวเพื่อดึงดูดมด สารเหล่านี้ยังก่อให้เกิดราสีดำ ที่จะปกคลุมไปทั่วทั้งใบ และแน่นอนว่าเป็นลดการสังเคราะห์แสงได้

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การดูดซึมสารอาหาร การทำให้สารอาหารไหลเวียนทั่วต้น และการสังเคราะห์แสงก็จะลดลงไปด้วย และยังมีแนวโน้มที่จะผลิตเมล็ดกาแฟที่อ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องดื่มของเรามีรสฝาด มีกลิ่นคล้ายกับโลหะ หรือมีรสขมได้ เพลี้ยแป้งเหล่านี้จะพบได้ในแถบแอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

หนอนตัวกลม

หนอนตัวกลมเป็นกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นปรสิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพืชและสัตว์ มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายสายพันธุ์ พวกมันจะไปโจมตีระบบรากของต้นกาแฟ และจะไปกินยางไม้ หนอนตัวกลมเหล่านี้สามารถที่จะสร้างปมไว้ในร่าง เพื่อป้องกันไม่ให้พืชดูดซับน้ำและสารอาหารได้ ซึ่งอาจจะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ทำให้รากลดลง เหี่ยวเฉาลง และการที่พืชไม่สามารถดูดน้ำและสารอาหารได้ ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ผลคือกาแฟที่ได้จะมีผลผลิตต่ำ เมล็ดกาแฟมีน้ำหนักเบากว่าที่ควรจะเป็น

Rust Leaf

โรคในกาแฟทั่วไป

โรคในกาแฟ นับว่าเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตของกาแฟมาก และนี่เป็นโรคในกาแฟบางโรคที่เรามานำเสนอ

โรคสนิมในใบกาแฟ

โรคสนิมในใบกาแฟนี้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา และนับว่าเป็นปัญหาระดับโลกสำหรับผู้ผลิตกาแฟ ในประเทศโคลอมเบียนั้น ได้มีการต่อสู้กับโรคสนิมในใบนี้มาแล้วกว่าหลายชั่วอายุคน โดยโรคนี้มีอำนาจในการทำลายล้าง สามารถที่จะทำให้ต้นกาแฟไม่สามารถออกผลได้ หรือแม้กระทั่งกวาดล้างผลิตผลทางการเกษตรทั้งประเทศก็เคยทำมาแล้ว ในช่วงปี 2012 เกิดเหตุการณ์สนิมในใบกาแฟครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกาแฟในอเมริกากลางอย่างหนัก และในอีก 2 ปีต่อมา มันได้สร้างความเสียหายมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

โรคสนิมในใบกาแฟนี้ จะมีลักษณะเป็นฝุ่นคล้ายกับสนิมสีส้ม อยู่ที่บริเวณด้านล่างของใบ คล้ายกับสนิมจริง ๆ สนิมเหล่านี้ทำให้ใบกาแฟร่วงหล่น คล้ายกับแมลงวันหนอนชอนใบกาแฟ แพร่พันธุ์โดยใช้ลมและฝน ทำการกระจายสปอร์สนิมของใบกาแฟ ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮน์ หรือที่ประมาณ 21 องศาเซลเซียส ดังนั้น โรคนี้จึงนับว่าเป็นโรคที่แพร่หลายมากที่สุดในกาแฟอาราบิก้า ที่ปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างอุ่นและชื้น และมีระดับความสูงค่อนข้างต่ำ

สนิมในใบกาแฟนี้ จะไปจำกัดการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกในปีถัดไป และยังส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่ลดลงในปีปัจจุบันที่เกิดด้วย ต้นกาแฟที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคสนิมในใบกาแฟนี้ จะไม่สามารถสุกได้อย่างเต็มที่ และหากออกผลผลิต กาแฟที่ได้ก็จะมีความฝาด หลายครั้งที่ผู้ผลิตกาแฟ มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่นำเมล็ดกาแฟเหล่านี้มาโพรเซสแล้ว กาแฟจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หลังจากนำไปทำโพรเซส wet process เมล็ดสีน้ำตาลเหล่านี้ จะมีรสเปรี้ยว หรือในบางครั้งก็ไม่มีรสชาติอะไรเลย

โรคใบกาแฟร่วงหล่น

โรคใบกาแฟร่วงหล่นนั้น เกิดจากการที่ท่อน้ำเลี้ยงของลำต้นกาแฟ ติดเชื้อรา ทำให้ปิดกั้นการไหลเวียนของน้ำและสารอาหาร เป็นเหตุให้ใบไม้ร่วงหล่น กิ่งก้านตาย และผลเชอรี่สุกก่อนเวลาอันควร การที่ผลเชอร์รี่มีสีแดง แต่ข้างในอาจจะยังไม่สุกเต็มที่ ทำให้ในผลเชอร์รี่ไม่มีความเป็นกรดอยู่ กาแฟมีความคมมากขึ้น และอาจมีกลิ่นเหม็นเขียวได้

โรคราสีชมพู

โรคราสีชมพูนี้ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา มีลักษณะใบเหลืองและใบร่วงเป็นหย่อม คล้ายกับกิ่งแห้ง ลักษณะของเชื้อราจะเหมือนมีสายมาพัน และห่อหุ้มกิ่งอยู่ จะมีลักษณะเป็นสีชมพู กิ่งที่ติดเชื้อจะสูญเสียใบและตายลง เป็นปัญหา โดยเฉพาะในภูมิภาคผลิตกาแฟในประเทศบราซิล

วิธีการป้องกันศัตรูพืช และโรคในกาแฟ

วิธีการป้องกันศัตรูพืชและโรคในกาแฟที่ดีที่สุด คือการทำระบบการจัดการฟาร์มที่ดี การเลือกพันธุ์กาแฟให้ถูกต้องเหมาะสม การจัดสรรร่มเงา การเลือกใช้ยาฆ่าแมลง และการใส่ธาตุอาหารพืช เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถป้องกันแมลงและศัตรูพืชได้ดี หากพืชมีโภชนาการที่ดี และมีความแข็งแรง ก็จะสามารถป้องกันโรคภัยเหล่านี้ได้

สารอาหารที่ดี จะทำให้พืชมีความทนทานมากยิ่งขึ้น การใช้สารบางอย่างที่ป้องกันเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น ส่วนผสมของ Bordeoux (สารฆ่าเชื้อราที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ) ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน ทองแดงนับว่าเป็นสถานฆ่าเชื้อร้ายชนิดเดียว ที่จะไม่ก่อให้เกิดเชื้อราเหล่านั้นดื้อยา

การหมั่นตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นอยู่ตลอด ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน การใช้เทคโนโลยีบางอย่างเข้ามาช่วย น่าจะทำให้ระบบการจัดการเหล่านี้ดีขึ้น

การตัดแต่งกิ่ง

ควรที่จะจัดสรรตารางการตัดแต่งกิ่งอย่างเข้มข้น พืชผลเหล่านี้ควรจะถูกตัดแต่งกิ่งอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี หากยืดระยะเวลาไปนานกว่านั้น พืชผลเหล่านี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคสนิมในใบกาแฟมากขึ้น และแม้กระทั่งในขั้นตอนการตัดแต่งกิ่งก็ต้องมีความระมัดระวังสูง เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งเหล่านี้สามารถที่จะทิ้งรอยแผลไว้บนต้นไม้ โดยที่ไม่มีการป้องกันใด ซึ่งสิ่งนี้ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดความเสียหาย

แน่นอนว่าควรหมั่นที่จะดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรคใด ๆ หรือเชื้อโรคที่เกิดระหว่างต้น ซึ่งมาตรการการควบคุมโรคพืชนี้เรียกว่า phytosanitation

ตรวจสอบและเฝ้าระวัง

การหมั่นตรวจสอบและเฝ้าระวังนั้น เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ต้นกาแฟของเราปลอดโรค และปราศจากแมลงศัตรูพืช การเฝ้าติดตามศัตรูพืชและโรคภัยอยู่ตลอด จะช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้ ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีแนวทางในการตรวจสอบและการเฝ้าระวังแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ และอื่น ๆ

ผู้ผลิตควรที่จะบันทึกสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกดอก และระยะเวลา กับปริมาณในการปฏิสนธิ มันวิเคราะห์ดินอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถรู้ความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับต้นกาแฟ และควรตรวจสอบคุณภาพของการผสมพันธุ์ตนด้วย

นอกจากนี้ สิ่งที่ควรสนใจคือควรติดตามระดับของร่มเงา น้ำฝน และระดับความชื้น ปัจจัยที่ว่ามาเหล่านี้ หากดูแลไม่ดี อาจเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับศัตรูพืชและโรคภัยได้

Insecticide

สารกำจัดศัตรูพืชทางเลือก

และหากพืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบจากศัตรูพืชและโรคภัยเรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่หลายคนมักจะนึกถึง คือการใช้ยาฆ่าแมลง แต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ สามารถที่จะทำให้น้ำเกิดการปนเปื้อนได้ อีกทั้งยังเป็นการทำลายระบบนิเวศในท้องถิ่น ทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่าได้ มีการศึกษาพบว่า ในบางกรณี การใช้สารกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ อาจจะลดจำนวนของศัตรูพืชตามธรรมชาติได้จริง แต่ก็จะส่งผลให้จำนวนของศัตรูพืชเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น นอกจากนี้ เรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด คือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์จากสารเคมีที่ตกค้าง ดังนั้นการพยายามหลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลง จึงค่อนข้างมีความสำคัญในกระบวนการนี้

แต่หลายครั้งเราก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาฆ่าแมลง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างรอบคอบ และการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ ที่มีระบบการจัดการที่ดี จะช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของกาแฟได้ นั่นหมายความว่า ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสารกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ทีเดียว เพียงอาจใช้ร่วมกับวิธีอื่น ที่ได้ผลดีกว่า หรือพอกัน

ตัวอย่างหนึ่งของการควบคุมโรคโดยที่ไม่ใช้สารเคมี คือวิธีการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เพื่อจัดการมอดกาแฟ เทคนิคคือวิธีการควบคุมสิ่งแวดล้อมโดยใช้ผู้ล่า ในโคลอมเบีย มีวิธีการเพาะพันธุ์ตัวต่อ แล้วนำไปปล่อยในไร่กาแฟ ตัวต่อเหล่านี้จะทำการค้นหามอดกาแฟ และกินมอดเหล่านั้นเป็นอาหาร มีวิธีการใช้ราน้ำค้าง เพื่อไม่ให้มอดเจาะเมล็ดกาแฟมาทำลายเมล็ดกาแฟด้วย แต่การใช้ราน้ำค้างเหล่านี้ จะใช้ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพของกาแฟ นับว่าเป็นวิธีที่ชาญฉลาดมากเลยทีเดียว

การวางกับดัก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชอย่างได้ผล โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงเลย

ผู้ผลิตกาแฟ ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในกระบวนการ แม้ว่าจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างเช่นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในเรื่องของเศรษฐกิจโลก แต่ในเรื่องของโรคพืช และศัตรูพืชเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ยังสามารถจัดการได้อยู่ เพียงแค่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับศัตรูพืช และโรคภัยอย่างเป็นขั้นตอน เพียงเท่านี้ก็น่าจะควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้บ้างแล้ว

อย่างที่เกษตรกรในหลายประเทศทำ คือการบันทึก และการหมั่นดูแลฟาร์ม ใช้ระบบการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ บางทีเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ก็สามารถที่จะลดบรรดาศัตรูพืชและโรคในกาแฟเหล่านี้ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือทุ่มเงินมากมายเลย และเหล่านี้เป็นตัวอย่างเล็กน้อย แต่เป็นอะไรที่ควรรู้มาก