โคลอมเบีย กับเป้าหมาย การผลิตกาแฟ อย่างยั่งยืนภายในปี 2027

การผลิตกาแฟ อย่างยั่งยืน คำคำนี้เป็นคำที่ในปัจจุบันเราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ และในหลายภาคส่วน ทั่วทั้งอุตสาหกรรมกาแฟก็กำลังพูดถึงคำนี้กันอยู่ ผู้บริโภคบางกลุ่ม ยังคำนึงถึงเรื่องของความยั่งยืนเป็นสำคัญ ก่อนที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย แต่คำคำนี้แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ น่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากยังไม่เข้าใจความหมายของคำคำนี้อย่างแท้จริง และวันนี้เราจะไปทำความเข้าใจในเรื่องราวนี้กัน

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ประเทศโคลอมเบีย ประเทศผู้ผลิตกาแฟแห่งหนึ่งในโลก ได้มีเป้าหมายสำคัญ คือต้องการที่จะทำให้อุตสาหกรรมกาแฟของพวกเขา มีการผลิตกาเเฟอย่างยั่งยืน อย่างช้าที่สุดภายในปี 2027 ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและค่อนข้างมีความท้าทายเป็นอย่างมาก แล้วในเรื่องของขั้นตอนจะเป็นอย่างไร ประเทศโคลอมเบียจะทำอย่างไร เพื่อที่จะดันตนเองไปสู่การทำอุตสาหกรรมกาแฟแบบยั่งยืนได้ อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ของตลอดทั้งห่วงโซ่ได้อีกด้วย

Coffee in Honduras

เรื่องที่นำมาเล่านี้ เป็นสิ่งที่สหพันธ์กาแฟโคลอมเบีย Colombian Coffee Federation (FNC) ได้ดำเนินการ เพื่อที่จะนำความยั่งยืนที่แท้จริงมาสู่ อุตสาหกรรมกาแฟภายในประเทศ

เหตุใด ความยั่งยืนจึงสำคัญ

มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเกือบจะเป็นสองเท่าของฝรั่งเศส มีการผลิตกาแฟ มีผู้คนเกือบสี่ล้านคน ที่จำเป็นจะต้องพึ่งพารายได้จากภาคอุตสาหกรรมกาแฟนี้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ แต่เป็นบรรดาเกษตรกรรายย่อยเพียงแค่นั้น

ดังนั้นแล้วสำหรับประเทศโคลอมเบีย กาแฟจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเรื่องของความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกาแฟ ก็มีความสำคัญต่อพื้นที่และชุมชนเป็นอย่างมากด้วย มีความสำคัญต่อผู้ผลิต ซึ่งหลายปีมานี้ ถึงกับมีผู้ผลิตมากมาย ที่ถูกบังคับให้เลิกทำไร่กาแฟไปเลย อันเป็นผลมาจากรายได้ที่ไม่เพียงพอ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย

จากข้อมูลของ FNC มีการระบุว่า ไร่กาแฟในประเทศโคลัมเบียอย่างน้อย 42 เปอร์เซ็นต์ มีการรองรับแนวทางการปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับกระบวนการการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนในระดับหนึ่ง แต่ตัวเลขนั้นจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวนมาก จะใช้แนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่มีความยั่งยืน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้รับการสนับสนุน จึงขาดทรัพยากร หรือเงินทุนอยู่มากเลยทีเดียว

แต่การที่จะทำเช่นนั้นได้ การจะทำให้ทั้งประเทศ เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกาแฟที่ยิ่งใหญ่นี้ จำเป็นที่จะต้องรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความยั่งยืนก่อน เพื่อที่จะได้วางแผนการอย่างถูกต้อง สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้

ความยั่งยืน หมายถึงอะไร

ในปี 1987 คณะกรรมาธิการของ UN ได้มีการนิยามความหมายของคำว่า “sustainability” หรือคือคำว่า “ความยั่งยืน” เอาไว้ว่า “การตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน โดยไม่ไปกระทบความสามารถของคนรุ่นต่อไป ในการที่จะสนองความต้องการของตนเองด้วยเช่นกัน”

หากเราลองฟังดูแล้ว สิ่งนี้ดูเหมือนเรียบง่ายและไม่มีอะไรมาก แต่แท้จริงแล้วมีอะไรมากกว่านั้น และในทางปฏิบัติก็ยากกว่าที่เราคิด มีความท้าทายหลายอย่างที่ผู้ผลิตกาแฟต้องเผชิญ

สิ่งที่ท้าทายที่สุด ของการทำให้อุตสาหกรรมนี้ยั่งยืนก็คือ มันไม่ได้มีคำจำกัดความที่ตายตัว ที่จะสามารถระบุได้ว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้ หรือสิ่งที่กำลังจะทำอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืนหรือไม่ ได้มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกาแฟในโคลอมเบีย ตั้งข้อสังเกตว่า ความยั่งยืนอาจเป็นวิธีการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง การแจกจ่ายสวัสดิการสำหรับเกษตรกรอย่างเท่าเทียม แต่แท้จริงแล้วมันมีแค่นั้นหรือไม่

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ว่าหากจะสร้างความยั่งยืนแล้ว จำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นไปที่ 3 เสาหลัก ได้แก่ การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาด้านสังคม และพัฒนาด้านเศรษฐกิจ คำกล่าวที่ว่า ความยั่งยืนเป็นการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง แล้วการพัฒนาทั้ง 3 เสาหลักที่ว่ามานี้ จะสอดรับกับการใช้ชีวิตที่ถูกต้องได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังสามารถที่จะพัฒนาเป้าหมายเหล่านี้ร่วมกันทั้งอุตสาหกรรมได้หรือไม่

ความยั่งยืนสำหรับทุกคน

หากจะกล่าวถึงความยั่งยืน และให้แฟร์กับทุกฝ่าย จำเป็นที่จะต้องกำหนดเป้าหมาย แล้วนำมาปรับให้เข้ากับบริบทที่หลากหลายของผู้คน ขั้นแรกที่สหพันธ์ FNC เริ่มทำเลยก็คือ การขอความคิดเห็นจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เพราะการที่จะเข้าใจบริบทของคนหมู่มากได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องได้ความเห็นของเกษตรกรเหล่านี้ อย่างน้อยก็มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Timor Hybrid

ได้มีการจัดการหารือกันภายในชุมชน เพื่อที่จะได้เข้าใจปัญหาจริง ๆ ที่เกษตรกรกำลังประสบพบเจอ จากนั้น พวกเขาได้เริ่มทำการพบปะกับสมาชิกของสถาบันกาแฟ และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ซึ่งขั้นตอนแรกคือ การพยายามจำกัดความ ความหมายของคำว่า “ความยั่งยืน” ของของพวกเขาเอง เพื่อที่จะได้มองหาแนวทางการปฏิบัติ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายของพวกเขาได้ จากนั้นได้ทำการจัดการประชุมทั่วประเทศกับบรรดาผู้ผลิตกาแฟมากมาย นักการศึกษาด้านการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และผู้ส่งออก โดยพยายามที่จะมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรม มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขั้นตอนต่อไปของการทำให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกาแฟนั้น จากการประชุมและหารือ กลายเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ และสุดท้าย หลังจากการวิจัยอภิปราย และนำไปปรับใช้จริง น่าจะนำมาสู่แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนได้

3 เสาหลักแห่งความยั่งยืน

สหพันธ์ FNC เชื่อว่า หากพวกเขาได้ทำการปฏิบัติโดยมุ่งเน้นไปที่ 3 เสาหลักแห่งความยั่งยืนได้นั้น พวกเขาจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้ โดย 3 เสาหลักที่ว่านี้ ประกอบด้วย

  • เศรษฐกิจ: การจัดการรายได้ ผลผลิต ตลอดจนถึงเรื่องของต้นทุนการผลิต
  • สังคม: การลงทุนทางสังคม รวมถึงการให้ความรู้และการศึกษาแก่ชุมชนที่เป็นเขตชนบท และเรื่องของประกันสุขภาพด้วย
  • สิ่งแวดล้อม: การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการไร่อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นมา นั่นก็คือ

  • สหกรณ์: นั่นก็คือ การที่กลุ่มผู้ผลิตสามารถที่จะรวมตัวกันได้ โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน นอกจากการทำแบบนี้จะสามารถแบ่งปันข้อมูลและองค์ความรู้แก่กันและกันแล้ว ยังสามารถที่จะตรวจสอบ และได้มาซึ่งการซื้อขายที่โปร่งใส และอาจมีส่วนร่วมกันในหลากหลายเรื่องมากขึ้น

เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่มีความท้าทายมากเช่นกัน สหพันธ์ FNC เชื่อว่า หากได้มาซึ่งความร่วมมือกันทั้งอุตสาหกรรม มีการทำงานร่วมกันได้ของทั้งสหกรณ์ และในภาคส่วนอื่น ๆ ในระดับภายใน น่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้

เป้าหมาย ความยั่งยืนก่อนปี 2027

การตั้งเป้าหมายในระดับที่ใหญ่ระดับประเทศนี้ กับทั่วทั้งอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืน กับเวลาไม่ถึง 10 ปี นับว่าเป็นอะไรที่ดูทะเยอทะยานมาก การพยายามสโคปเวลาให้แคบแบบนี้ สามารถที่จะช่วยกระตุ้นทางสหพันธ์ FNC ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้หลายภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้เกิดความตระหนักด้วย

การพลิกโฉมอุตสาหกรรมกาแฟ

สิ่งที่สำคัญที่สหพันธ์ FNC เน้นย้ำ คือในเรื่องของการให้ความรู้กับผู้คน หากผู้คน หรือในที่นี้ก็คือเกษตรกร มีความรู้ที่ถูกต้องและมากพอ จะสามารถช่วยให้ผู้ปลูกกาแฟสามารถปลูกกาแฟได้อย่างยั่งยืนมากขึ้นทีละน้อย สามารถที่จะวางกลยุทธ และตามทันกลไกตลาด และเมื่อสิ่งนี้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว จะนำเอาสิ่งเหล่านี้เป็นบรรทัดฐานใหม่ สหพันธ์ FNC มีความหวังให้ประเทศโคลอมเบีย กลายเป็นผู้นำในด้านของ การผลิตกาแฟ อย่างยั่งยืนนี้

การที่จะทำให้อุตสาหกรรมกาแฟสามารถดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืนนั้น นับว่าเป็นเป้าหมายที่มีความทะเยอทะยานสูงมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ในอุตสาหกรรมนี้ จำเป็นต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริงโดยเร็ว เพราะหากไม่ได้เป็นแบบนั้น เพียงแค่ทำการปลูกกาแฟ คั่วกาแฟ และดื่มกาแฟไปเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบัน ที่มีปัจจัยหลายอย่างที่เสี่ยงให้เกิดวิกฤติกาแฟมากมายมหาศาล อาจจะสายจนเกินไป

F1 Hybrid Tree

เป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ที่จำเป็นต้องปกป้องดูแลทั้งห่วงโซ่นี้ ใช้ทรัพยากรของวันนี้อย่างดูแลรักษา เพื่อไม่ไปทำร้าย หรือทำให้เกิดผลกระทบของวันพรุ่งนี้

เราในฐานะผู้บริโภค สิ่งที่พอทำได้ก็อาจมีอยู่บ้าง การบริโภคกาแฟอย่างรู้ที่มา หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนแนวทางการผลิตกาแฟที่ถูกต้อง จะทำให้เราสามารถสนับสนุนแนวทางด้านการเกษตร รวมถึงการผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีความสำคัญมากเลยทีเดียว