ในประเทศอิหร่านนั้น กาแฟอิหร่าน นับว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน หากจะทำการสืบย้อนไป ก็จะสามารถสืบเรื่องราวของ กาแฟอิหร่าน ได้ตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นช่วงที่กาแฟได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ เนื่องจากเรื่องของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และเรื่องราวการเมืองภายในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงไป นั่นทำให้วัฒนธรรมกาแฟ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศด้วย นั่นเป็นผลให้อุตสาหกรรมกาแฟของอิหร่าน เรียกได้ว่ามีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างวัฒนธรรม กับขนบแบบดั้งเดิม และความทันสมัย ในรูปแบบสมัยใหม่ ทั้งในเรื่องของการชงและการบริโภคกาแฟ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ ช่วงเวลาที่กาแฟสเปเชียลตี้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในประเทศอิหร่านก็เช่นเดียวกัน จำนวนร้านกาแฟพิเศษที่เปิดในเมืองใหญ่ มีอัตราการเพิ่มสูงมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเตหะราน แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี 2010 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจกาแฟด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็นับเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

เรื่องราวของกาแฟในประเทศอิหร่าน ยังมีอีกมากมาย ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรม กาแฟอิหร่าน การบริโภคกาแฟของคนที่นั่น รวมถึงประวัติความเป็นมาของกาแฟ ในประเทศอิหร่านแห่งนี้ และแน่นอน การมาถึงของกาแฟสเปเชียลตี้ จะส่งผลอย่างไรต่อวัฒนธรรมกาแฟภายในประเทศ
ประวัติศาสตร์ กาแฟในอิหร่าน
จากข้อมูลนั้น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากาแฟ เดินทางเข้ามาภายในประเทศอิหร่านครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า กาแฟน่าจะมาจากผู้แสวงบุญ และพ่อค้าในช่วงศตวรรษที่ 16 ในช่วงเวลานั้น ช่วงที่ประเทศอิหร่าน ยังเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเปอร์เซียอยู่
ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ไปจนถึงประเทศแถบแอฟริกาอื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ สาวกผู้นับถือมุสลิม มักจะใช้กาแฟเป็นเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้เกิดการตื่นตัวระหว่างการทำละหมาดข้ามคืน
เมื่อกาแฟเดินทางมาถึงเปอร์เซียครั้งแรก การบริโภคส่วนใหญ่ สงวนไว้สำหรับวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เพียงเท่านั้น บรรดาแพทย์ผู้มีชื่อเสียงในเวลานั้น มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ ว่าเปรียบเสมือนยาสารพัดนึก สามารถที่จะกำจัดอาการปวดหัว หรือโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตได้
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป กาแฟก็ได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีการบริโภคภายในบ้าน รวมถึงมีร้านกาแฟเกิดขึ้นภายในประเทศด้วย
ในอดีต กาแฟยังเคยเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันในงานสังสรรค์ และแน่นอน โดยเฉพาะชนชั้นสูง ที่จะได้สัมผัสกับเครื่องดื่มชนิดนี้ก่อน และหลังจากนั้นไม่นาน กาแฟก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไป
ร้านกาแฟเป็นสถานที่ที่ผู้คนมักใช้พบปะพูดคุยกัน ดังนั้นผู้คนจะทำการพบปะ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเมือง สังคม มีการตกลงทางธุรกิจก็ที่ร้านกาแฟ แต่เดิมแล้วชาวอิหร่าน มีชื่อเสียงในเรื่องของความเป็นมิตรอยู่แล้ว ดังนั้นร้านกาแฟจึงนับว่าเป็นสถานที่สำหรับข่าวสังคมชั้นดี พร้อมกับการดื่มกาแฟรสเลิศไปด้วย
แต่แล้วในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เครื่องดื่มอย่างกาแฟก็ได้เสื่อมความนิยมไปพักนึง และถูกเข้ามาแทนที่ด้วยชา ซึ่งตอนนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นภายในประเทศ และกินเวลาหลายปีที่มีการเปลี่ยนแปลง จากการบริโภคกาแฟเป็นการบริโภคชาภายในร้านกาแฟของอิหร่าน สาเหตุหลักๆก็เนื่องมาจากอิทธิพลของรัสเซียและจีน ที่มีต่อประเทศในช่วงเวลานั้น เนื่องจากรัสเซียและจีน เป็นสองประเทศที่มีการบริโภคชารายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ในประเทศอิหร่านก็เริ่มมีการปลูกชาเป็นของตัวเอง นั่นทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้สามารถที่จะเข้าถึงได้ แม้ว่าจะในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตาม
จนกระทั่งในปัจจุบัน ชาก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในประเทศอิหร่าน โดยมีการบริโภคชาต่อคน สูงถึงเกือบประมาณ 3 กิโลกรัมต่อปีเลยทีเดียว และจนถึงช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ที่กาแฟได้เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง
จุดเปลี่ยนของวัฒนธรรมร้านกาแฟ
ร้านกาแฟแห่งแรกในประเทศอิหร่าน ปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ Safavid ซึ่งเป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในประเทศอิหร่าน ราชวงศ์นี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1501-1736 ในช่วงเวลานั้นเอง ร้านกาแฟนับว่าเป็นสถานที่ชุมนุม ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและผู้คนผ่านไปมา มีการจัดงานการอ่านบทกวี การฟังเทศน์ทางศาสนา และการอภิปรายทางปัญญาด้วย
จนกระทั่งในปัจจุบัน ร้านกาแฟก็ยังคงนับว่ามีบทบาทสำคัญในสังคมอิหร่าน และแน่นอนว่า วัฒนธรรมร้านกาแฟสมัยใหม่ ก็ยังได้มีการดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้เขามาสังสรรค์ภายในร้านกาแฟด้วย และยิ่งในประเทศอิหร่าน มีข้อจำกัดในเรื่องของการเปิดบาร์ คลับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้รับอนุญาตภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ร้านกาแฟจึงกลายเป็นแหล่งแฮงค์เอาท์ยอดนิยมของผู้คนหนุ่มสาว
นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามในปี 1979 ประชาชนชาวอิหร่านที่เป็นมุสลิม ถูกห้ามไม่ให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด และด้วยเหตุนี้ ร้านกาแฟจึงกลายมาเป็นเสาหลักทางสังคม เป็นจุดรวมของผู้คน และไม่ใช่แค่ในเมืองหลวงเท่านั้น ยังสำคัญสำหรับพลเมืองของทั้งประเทศด้วย
มีร้านกาแฟมากมายทั่วประเทศอิหร่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2017 มีตัวเลขที่ชัดเจน ว่ามีร้านกาแฟที่มีใบอนุญาตเปิดอย่างถูกกฎหมายประมาณ 250 ร้านในกรุงเตหะราน และเนื่องจากวัฒนธรรมกาแฟยุคใหม่ กับกาแฟสเปเชียลตี้ที่มีการเข้ามาภายในประเทศ ดังนั้นตัวเลขร้านกาแฟจึงพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย และกาแฟพิเศษเหล่านี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นภายในประเทศด้วย

ถึงแม้ว่าการระบาดใหญ่ร้ายแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะส่งผลต่อสังคมของร้านกาแฟภายในประเทศ ในช่วงเกิดการระบาด ร้านกาแฟแทบจะทุกร้าน ต้องเปลี่ยนไปใช้บริการเดลิเวอรี่เท่านั้น แต่ไม่ใช่เพียงแค่ภาคส่วนของกาแฟเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม ในช่วงเวลานั้นก็ต้องเผชิญกับวิกฤตด้วยกันทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟหลายแห่ง หรือบรรดาอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ถูกรัฐบาลอิหร่านสั่งบังคับให้ปิดทำการ โดยทางรัฐบาลอิหร่านได้มีการอ้างเหตุผลมากมายหลากหลายประการ ตั้งแต่การขาดการควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด การพยายามสอดส่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ ไปจนถึงการกล่าวหาผู้หญิง ว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบการแต่งกายของอิสลาม
จนถึงตอนนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างโชคดี ที่วัฒนธรรมกาแฟภายในประเทศเริ่มกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง และคาดว่าจะเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการที่มีความหลากหลายในกาแฟมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ ในอุตสาหกรรมกาแฟของอิหร่าน
สิ่งหนึ่งในวัฒนธรรมกาแฟของประเทศอิหร่าน ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างมาก คือการมีส่วนร่วม ของผู้คนในประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่มีความสำคัญ และเห็นได้อย่างชัดเจน คือการให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมกาแฟ
กฎหมายการจ้างงานของประเทศอิหร่าน มีการแยกผู้หญิงออกจากอุตสาหกรรมกาแฟอย่างชัดเจน โดยผู้หญิงจะถูกแบนจากการทำงานในคาเฟ่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น โดยในปี 2014 หัวหน้าตำรวจของกรุงเตหะราน ได้ทำการประกาศว่า ผู้หญิงไม่สามารถที่จะทำงาน หรือแม้กระทั่งเข้าไปใช้บริการในร้านกาแฟได้ เนื่องจากกฎหมายการแยกเพศชายหญิง ที่ถูกบัญญัติในกฎหมายอิสลาม
แต่ทุกวันนี้ได้มีการละเว้นบางอย่างไว้ และให้สิทธิผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้เราเห็นผู้หญิงจำนวนมาก เข้าสู่อุตสาหกรรมกาแฟ ในฐานะบาริสต้า โรสเตอร์ หรือบทบาทอื่นในอุตสาหกรรมด้วย
แนวโน้มการบริโภคกาแฟที่กำลังเติบโตขึ้นในอิหร่าน
แต่ก่อนนั้น เคยมีหลักสูตรกาแฟของ SCA รวมถึงอีกหลากหลายหลักสูตร และกิจกรรมการแข่งขันในด้านกาแฟมา ถูกจัดขึ้นที่ประเทศอิหร่านแห่งนี้ แต่ด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่อิหร่านมีต่อต่างชาติ พอเรื่อยมากิจกรรมด้านกาแฟของประเทศอิหร่าน กลับถูกจัดขึ้นโดยองค์กรกาแฟระดับภูมิภาค หรือก็คือการจัดขึ้นเองในประเทศ ในที่สุดงานจะ SCA ก็ไม่มีในประเทศอิหร่านอีกต่อไป
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าอย่างไรทางภาครัฐก็ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของกาแฟมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อกาแฟอย่างมีข้อมูลได้มากขึ้น
ถึงแม้จะมีข้อมูลหลั่งไหลเข้ามามากมาย และผู้คนเริ่มมีองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านกาแฟ กาแฟสเปเชียลตี้ได้รับการพูดถึงในประเทศก็ตาม แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ก็ยังคงนิยมดื่มเครื่องดื่มเอสเพรสโซ แต่ถึงอย่างนั้นก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และคาดว่าจะมีการเพิ่มมากขึ้น ในการหันมาให้ความสนใจกาแฟรูปแบบอื่น ตัวอย่างการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงในภาคส่วนกาแฟของอิหร่าน เช่น การที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจ และบริโภคกาแฟแบบซิงเกิลออริจินเพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้ว่าผู้บริโภคกาแฟส่วนใหญ่ภายในอิหร่าน จะชื่นชอบการดื่มเอสเพรสโซ หรือกาแฟประเภทที่ใส่นม อย่างพวกลาเต้หรือคาปูชิโนก็ตาม แต่ทุกวันนี้กาแฟแบบซิงเกิลออริจิน ก็เริ่มมีผู้สนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ อีกอย่างการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในด้านกาแฟ ทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่ง หันมาชงกาแฟดื่มเองที่บ้านกันมากขึ้น รวมถึงการลงทุนซื้ออุปกรณ์สำหรับชงกาแฟที่ดีและมีคุณภาพมากขึ้นด้วย
ในการสกัดกาแฟ หรือการชงกาแฟดื่มเองที่บ้าน วิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอิหร่าน คือการใช้เครื่อง french press นอกจากนี้ การดริปกาแฟ ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันเลย สิ่งนี้บ่งชี้ถึงจุดที่สำคัญคือ ผู้คนเริ่มมีความรู้ในด้านกาแฟมากยิ่งขึ้นแล้ว
อนาคตกาแฟสเปเชียลตี้ในอิหร่าน
แม้ว่าอุตสาหกรรมกาแฟสเปเชียลตี้ จะเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศอิหร่าน แต่การเติบโตนี้จะยังคงเติบโตในอัตราที่คงที่หรือไม่ และในอนาคตจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงหรือไม่ด้วย ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มีการเกิดขึ้นของโรงคั่วกาแฟภายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายการค้าที่เป็นธรรมมาใช้ในประเทศอิหร่าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างอุตสาหกรรมกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟสเปเชียลตี้ภายในประเทศเป็นอย่างมาก
แต่แล้วก็เกิดปัญหาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านราคากาแฟเพิ่มขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศอิหร่าน ภาคส่วนที่เล็กอย่างภาคส่วนกาแฟสเปเชียลตี้นี้ น่าจะเป็นส่วนที่ค่อนข้างมีปัญหาภายในประเทศเลยทีเดียว ผู้ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และผลักดันเศรษฐกิจในด้านนี้ได้ ก็เห็นจะมีแต่รัฐบาลในประเทศเพียงเท่านั้น
และที่สำคัญ เมื่อช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมพลัง การเดินเรือ และการเงินของประเทศอิหร่าน สิ่งนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของประเทศอิหร่านลดลง มีอัตราการว่างงานของประชากรสูงขึ้น อีกทั้งสกุลเงินของประเทศอิหร่าน ยังสูญเสียมูลค่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์สหรัฐ
และมีการคาดการณ์ว่า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจนี้ จะฉุดรั้งอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศอิหร่านไว้สักระยะหนึ่ง หากลองเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ตลาดที่ค่อนข้างเล็กและมีความเฉพาะทางสูงนี้ ไม่น่าจะตามทันประเทศอื่นได้อย่างแน่นอน หากมาตรการเหล่านี้ยังคงอยู่
แต่สิ่งที่ยังคงเป็นความหวัง ของอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศอิหร่านก็มีอยู่เหมือนกัน อย่างน้อยในประเทศ ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่ชื่นชอบกาแฟ และผู้ที่เป็นมืออาชีพด้านกาแฟทั้งภายในและภายนอกประเทศอิหร่าน สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่การเติบโตมากขึ้น และช่วยให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ก็ตาม
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านกาแฟภายในประเทศอิหร่านก็ได้แต่หวังว่า การที่มีสายสัมพันธ์อันดีเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นนอกประเทศนี้ อาจช่วยให้หลักสูตรด้านกาแฟของประเทศอิหร่านเกิดการพัฒนา แก้ไขปรับปรุง และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจจะรักษาสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม และการแข่งขันกาแฟระดับนานาชาติได้ ซึ่งในปัจจุบันโดนคว่ำบาตรไป
ดูเหมือนว่าหลายคนภายในประเทศ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟสเปเชียลตี้ในประเทศ จะเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สิ่งที่จะทำให้วงการกาแฟของประเทศฟื้นตัวได้ คือการที่หลักสูตรกาแฟของนานาชาติ หรือการแข่งขันทางด้านกาแฟของนานาชาติ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศ และพวกเขายังมีความเชื่ออย่างสุดหัวใจอีกว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อาจจะได้เห็นบาริสต้าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เข้ามาลงทุนและผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศอิหร่านได้

ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอยู่มากมาย ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะและไม่เหมือนกับประเทศอื่น และมีเรื่องที่ต้องจัดการซึ่งอยากหลากหลายประการรออยู่ข้างหน้า สำหรับอุตสาหกรรมกาแฟภายในประเทศอิหร่าน แต่ด้วยเรื่องราวของกาแฟ ที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคอดีต ทำให้ยังคงมีผู้คนให้ความสนใจ และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะคนในประเทศอิหร่านเองมากมาย ดังนั้น ภาคส่วนกาแฟภายในประเทศ ก็ยังคงที่จะเติบโตได้ ถึงจะในอัตราที่น้อยกว่าหลายประเทศก็ตาม
ช่วงนี้ถือเป็นช่วงพักเบรก ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมกาแฟเท่านั้น แต่เรียกได้ว่าทุกอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ หากสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น อุตสาหกรรมกาแฟก็พร้อมที่จะแสดงให้คนทั้งโลกได้เห็น ถึงความหลงใหลและความตั้งใจภายในประเทศ และการเพิ่มศักยภาพด้านกาแฟของผู้คนในประเทศ ให้คนทั่วโลกได้รับรู้ และแน่นอนว่า มันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจมากเลยทีเดียว