พาไปดูความสัมพันธ์ระหว่าง กาแฟกับเครื่องเทศ 

กาแฟตุรกีที่มีการชงโดยการใส่กระวาน ไปจนถึงการทำลาเต้ที่มีการใส่ฟักทองและเครื่องเทศลงไป เราจะจะเห็นได้ว่า กาแฟกับเครื่องเทศ นับว่าเป็นเครื่องดื่มและอาหารสองสิ่งที่จับคู่กันมาแล้วอย่างยาวนาน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟในอดีต และจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีเครื่องดื่มกาแฟมากมายมากมาย ที่มีการใช้เครื่องเทศหลายชนิดในการปรุง ที่เราอาจจะเคยเห็นกันอยู่บ้างคือพวกอบเชย ขมิ้น และขิง

ความสัมพันธ์ระหว่าง กาแฟกับเครื่องเทศ นั้น ไม่ได้มีจำกัดอยู่เพียงแค่ในเมนูสำหรับร้านกาแฟเพียงเท่านั้น แม้กระทั่งในประเทศผู้ผลิตกาแฟทั่วโลก ผู้ผลิตหลายรายเลือกที่จะมีการปลูกเครื่องเทศควบคู่ไปกับการปลูกต้นกาแฟ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลหลากหลายประการที่แตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ในวันนี้เอง เราจะพาคุณมาสำรวจความสัมพันธ์อันมีเอกลักษณ์และลึกซึ้ง ระหว่างกาแฟและเครื่องเทศ สองสิ่งที่ถูกผูกติดกันอย่างลึกซึ้งอย่างที่คุณคาดไม่ถึง

Coffee and Spices

กาแฟและเครื่องเทศเมื่อครั้งอดีต

ในปัจจุบัน เราสามารถที่จะหาซื้อเครื่องเทศได้ในร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลก ในราคาที่เรียกได้ว่าถูกแสนถูก แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ศตวรรษก่อน เครื่องเทศหลายชนิดอย่างพวกขมิ้น ขิง พริกไทย กระวาน และเครื่องเทศอีกมากมายมากมายหลากหลายชนิด นับว่าเป็นของหายากและมีราคาแพงอย่างคาดไม่ถึง โดยถูกจำกัดไว้เฉพาะคนร่ำรวยหรือผู้ที่มีฐานะ และบรรดาชนชั้นสูงเพียงเท่านั้น

แม้ว่าจะมีการปลูกเครื่องเทศและมีการนำน้ำมันมาใช้นับพันปี แต่ก็ไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ระหว่างประเทศเลย จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 14 และ 15 เมื่อนักสำรวจหลายประเทศเดินทางออกจากยุโรป เพื่อทำการสำรวจส่วนต่าง ๆ ของโลก การสำรวจนี้ทำให้ได้พบกับเครื่องเทศที่แปลกใหม่มากมายหลากหลายชนิด ซึ่งไม่อาจพบเจอได้ในยุโรป

มหาอำนาจสำคัญของยุโรปในขณะนั้น ได้มีการเริ่มทำการค้าเครื่องเทศไปทั่วโลก ตั้งแต่ช่วงประมาณปลายศตวรรษที่ 15 นักประวัติศาสตร์เรียกการค้าเครื่องเทศนี้ว่าเป็น “จุดเริ่มต้นของโลกาภิวัตน์” เลยทีเดียว เนื่องจากเป็นเหมือนการเปิดเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างยุโรป จีน อินเดีย อารเบีย แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก

การค้าเครื่องเทศนั้นนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทั่วโลก ตลอดช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 พ่อค้าเครื่องเทศจำนวนมากได้กลายมาเป็นผู้มีอำนาจ และมีความมั่งคั่งทั้งในและต่างประเทศ การค้าเครื่องเทศนั้นมีการชะลอตัวลงก็ในศตวรรษที่ 17 พร้อมกับการมาถึงของชาและกาแฟ ที่กลายเป็นที่ต้องการมากขึ้นทั่วยุโรป

ความคล้ายคลึงกันทางประวัติศาสตร์ ระหว่าง กาแฟกับเครื่องเทศ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งสองถือว่าถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย อันเป็นสิ่งพึงปรารถนาของผู้คนทั่วยุโรป และเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ หรือสถานะความร่ำรวยในยุโรป ทั้งสองนับว่ามีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งและมีความซับซ้อนกับลัทธิล่าอาณานิคม และการค้าระหว่างประเทศในช่วงยุคแรกแรก ความคล้ายคลึงกันมีมากกว่านั้นอีก ในตอนแรกที่พ่อค้ากาแฟนำกาแฟมาขายที่เวนิส ถึงกับมีความเชื่อว่ากาแฟถือเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหรือเรื่องใหม่อะไรเลย ที่วัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก มีการเตรียมกาแฟโดยใช้เครื่องเทศเป็นส่วนผสม จะว่าไปแล้วทั้งกาแฟและเครื่องเทศ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่เป็นทั้งตัวแทนของความมั่งคั่ง ตัวแทนของอำนาจ และตัวแทนของความเสื่อมโทรมในเวลาเดียวกัน

และด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เอง สูตรของเครื่องดื่มบางสูตรที่มีมานานกว่าหลายศตวรรษ ยังคงใช้ส่วนผสมคือเครื่องเทศและกาแฟ เครื่องดื่มบางอย่างยังคงถูกใช้งานกันจนกระทั่งในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นกาแฟตุรกีและอารบิกแท้ ๆ มักจะมีการชงด้วยใบกระวาน และหากเป็นในเยเมน จะมีการผสมเมล็ดกาแฟกับฮาวาจ (hawaj) ฮาวาจดังกล่าวเป็นการนำเครื่องเทศมาผสมรวมกันได้แก่ขิง กระวาน การพลู และอบเชย

กาแฟเครื่องเทศในปัจจุบัน

และสำหรับคอกาแฟหลายหลายคนในปัจจุบัน ที่เราดื่มกาแฟดำ กับกาแฟนมกันจนชินไปแล้ว แนวคิดการนำเครื่องเทศมาผสมกับกาแฟอาจเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อยู่บ้าง ถึงแม้ว่าผู้คนในอดีตจะดื่มกันแบบนี้มานานกว่าหลายศตวรรษ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ผู้คนยุคใหม่เปิดรับ กาแฟที่มีการใส่ส่วนผสมเป็นเครื่องเทศหลากหลายชนิด หลายเมนูได้รับความนิยมอย่างไม่น่าเชื่อในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้

Pumpkin spice latte หรือกาแฟฟักทองใส่เครื่องเทศ ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ครองแชมป์ เป็นกาแฟเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยจากข้อมูลของ Nielsen ระบุว่า กาแฟฟักทองใส่เครื่องเทศ มีการขายได้มากถึง 6ร้อยล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน

Pumpkin Spice Latte

การที่ผู้บริโภคเลือกจะดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ ก็เนื่องจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีความแปลกใหม่ บวกกับหลายคนยังมองเครื่องเทศว่าเป็นสิ่งที่คุณค่าทางโภชนาการ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย ยกตัวอย่างเช่นขมิ้น ที่มีสารต้านอนุมูนอิสระที่แข็งแกร่ง พร้อมกับคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ขิงช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารได้ แต่ก็ต้องระวังสักนิด หากเครื่องดื่มนั้นใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูง แทนที่จะได้ประโยชน์ เรากลับจะได้ผลเสียมาแทน

หากมองอีกมุม การเสิร์ฟกาแฟเครื่องเทศภายในร้านกาแฟนั้น มีประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือ ร้านกาแฟสามารถที่จะนำเสนอรูปแบบ และให้ความรู้กับผู้ที่ดื่มกาแฟ ในฐานะเครื่องดื่มดั้งเดิม ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค อีกมุมหนึ่ง เปรียบเสมือนการทดลองอะไรใหม่ ๆ เพื่อให้ทางร้านกาแฟได้นำเสนอเมนูกาแฟเครื่องเทศแบบใหม่ ที่มีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์และมีความน่าสนใจได้ด้วยเหมือนกัน

เครื่องเทศกับกาแฟ ในแง่ของการปลูก

ถึงแม้ในแง่ของตลาด ในครั้งอดีต กาแฟและเครื่องเทศจะดูความสัมพันธ์ที่ไปในทิศทางเดียวกัน แต่สำหรับผู้ผลิตกาแฟนั้น ทั้งสองมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในฟาร์มกาแฟทั่วโลกหลายฟาร์ม จึงได้มีการปลูกกาแฟร่วมกับบรรดาพืชที่เป็นเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้นับว่ามีประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การปลูกพืชสองชนิดสลับกัน ในพื้นที่ฟาร์มเดียวกันนั้น เป็นการเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี วิธีการดังกล่าวนี้ มักจะถูกหยิบยกมาใช้งานเมื่อเกษตรกรปลูกพืชบนพื้นพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก และเข้าถึงปัจจัยการเกษตรได้อย่างจำกัด เช่นปุ๋ย แม้ว่าการดูแลพืชที่ต่างชนิดกัน ที่มีจำนวนความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการใช้แรงงานที่มีความเข้มข้นมากขึ้น แต่ในแง่ของการปลูกเครื่องเทศร่วมกับกาแฟ นับว่ามีประโยชน์มากกว่า นอกจากช่วยในการเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเสริมในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย

อย่างในทางตอนเหนือของกัวเตมาลา ผู้ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ จะได้รับเงินก็ต่อเมื่อทำการเก็บเกี่ยวเชอรี่กาแฟเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น นั่นทำให้ช่วงนอกฤดูกาล เกษตรกรไม่สามารถที่จะหารายได้อะไรเลย ดังนั้นจึงใช้วิธีการปลูกพืชสลับกัน เพื่อสร้างรายได้นอกช่วงฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟ สิ่งนี้นำมาสู่ความมั่นคงทางการเงินมากยิ่งขึ้นสำหรับฟาร์มกาแฟ ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งรายได้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตมีความมั่นคงทางการเงินมากยิ่งขึ้น นั่นเท่ากับว่าสามารถที่จะปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นได้ มีการลงทุนต่อยอดในฟาร์ม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ในประเทศกัวเตมาลา ฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเริ่มในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน แต่ต้นออลสไปซ์ซึ่งเป็นเครื่องเทศสำคัญ สามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ก็ในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม การปลูกพืชผสมผสานแบบนี้ ช่วยให้เศรษฐกิจของความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เรื่องของสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

เรื่องของดินก็สำคัญ การปลูกพืชในลักษณะนี้ทำให้ดินยังคงมีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้อีกหลายปี มันเปรียบเสมือนการรักษาคุณภาพของดิน เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการสารอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน การปลูกพืชสลับกันไปจะช่วยในการปรับสมดุลของดิน โดยจะมีการรีไซเคิลสารอาหารที่พืชแต่ละชนิดสกัดออกมา จากนั้นมันจะกลับคืนสู่ดินในรูปรูปแบบของอินทรีย์วัตถุ

การเลือกเครื่องเทศมาปลูกผสมกับกาแฟ

เครื่องเทศยอดนิยมที่เกษตรกรและผู้ผลิตมักจะปลูกแซมกับต้นกาแฟ ได้แก่ออลสไปซ์ กระวาน และกานพลู การปลูกพืชในลักษณะนี้ ถูกเรียกว่า ระบบการปลูกพืชสลับกัน พืชที่ปลูกในลักษณะนี้จะเป็นกานพลูและออลสไปซ์ ซึ่งมักจะปลูกกันแบบกระจัดกระจาย ไม่ได้มีการจัดเรียงเป็นแถวหรือเป็นแนวเป็นระเบียบ และมักจะปลูกในฟาร์มที่มีพื้นที่น้อยกว่า 0.35 เฮกตาร์

ส่วนการปลูกระวานนั้น มักจะปลูกในระบบการปลูกพืชสลับกันเป็นแถบ ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถที่จะทั้งปลูกและเก็บเกี่ยวเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบได้มากกว่า สามารถเก็บพืชผลแต่ละต้นได้อย่างง่ายดาย นั่นหมายความว่าเราสามารถได้ผลผลิตทั้งกระวานและกาแฟ ที่มีคุณภาพและยอดเยี่ยมมากที่สุด เนื่องจากทั้งสองต้นไม่ได้แย่งชิงพื้นที่ สารอาหาร และแสงแดดกันเอง

Coffee Spice

และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่แสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจน ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกาแฟและเครื่องเทศที่มีกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะในแง่ของการเป็นเครื่องดื่มและอาหาร หรือในแง่ของการผลิต ที่จะได้มาซึ่งผลผลิตอันล้ำค่า นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์โดยพื้นฐานในระดับนานาชาติ และมีความสัมพันธ์กันเป็นเวลามากกว่าหลายร้อยปีแล้ว

หากเราจะกล่าว ว่าเครื่องเทศนั้นมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่ของกาแฟ เราก็อาจที่จะกล่าวได้แบบนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการผลิต กับการกระจายพืชผลทางการเกษตร หรือการนำมาใช้ในการทำเครื่องดื่มในร้านกาแฟต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งนี้จึงน่าสนใจ นอกจากหาเครื่องดื่มเหล่านี้มาดื่มแล้ว ยังน่าสนใจที่เราจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้งสองที่มีมานานกว่าหลายศตวรรษนี้ด้วย